คัมภีร์ปฐมจินดา ตอนที่ 2


โดย  ยส  พฤกษเวช


พระคัมภีร์ปฐมจินดา ตอนที่ 2  จะกล่าวถึง  ผูก 1  ปริเฉท 3 และ ปริเฉท 4


พระคัมภีร์ปฐมจินดาผูก  1  ปริเฉท  3        กล่าวถึงเรื่อง  4  ประการ ดังนี้

     1. ว่าด้วยลักษณะกุมารทั้งหลายออกจากครรภ์มารดา   และน้ำนมแห่งมารดา
   
     2. ว่าด้วยการฝังรกแห่งกุมาร  และที่สถิตย์แม่ซื้อของกุมาร

     3. ว่าด้วยกุมารอยู่ในเรือนเพลิงและยารักษา

     4. ว่าด้วยเทพยดาและไม้มิ่งประจำปีเกิดแห่งกุมาร


1. ว่าด้วยลักษณะกุมารทั้งหลายออกจากครรภ์มารดา   และน้ำนมแห่งมารดา
               
     ห้ามมิให้กุมารกินนมเพราะโลหิตพิการ   กุมาร  กุมารีคลอดได้  1  วัน  ไปจนถึง  1  เดือน  เมื่อยังอยู่ในเรือนไฟ  มารดามักบังเกิดอันตรายต่าง ๆ ในเรือนไฟ  ที่เป็นเพราะโลหิตพิการ  คือ  โลหิตตีขึ้น  เป็นต้น   และไข้นอนอังไฟมิได้เป็นที่สุด  เป็นดังนี้  ห้ามมิให้กุมารนั้นกินนมเลย  เพราะโทษน้ำนมนั้นดิบ

     โลหิตกับน้ำนม น้ำเหลืองระคนกัน   ห้ามกุมารอย่าให้กินนม  โทษโลหิตกับน้ำนม น้ำเหลืองระคนกันเข้า  จะบังเกิดโรคต่าง ๆ  คือ  เมื่อกุมารอยู่ในเรือนไฟนั้นให้เป็นเขม่า  ครั้นแล้วจับเอาหัวใจและทรวงอก  จะทำให้ริมฝีปากกุมารแตกดุจดังสีชาดไปทาน้ำสีอันเปียก  และสีชาดนั้นก็จะดำเข้าเป็นสีลูกหว้าจับเอาขั้วตับ  เมื่อออกจากเรือนไฟ  2-3  วัน หรือ  1-2  เดือนก็ดี    เขม่าจึงหล่น  ในเมื่อสิ้นเขม่าแล้ว  ซางจึงบังเกิด  เพราะเส้นเอ็น  307  เส้น  เป็นสายโลหิตจากมารดา  อันรัดรวมกันอยู่ที่หัวนม กุมารบริโภคเข้าไปจึงเป็นโรค

 


 
     เบญจสตรีและงานม    สตรีบางจำพวกมิได้เกิดอันตรายจากในเรือนไฟ  แต่เกิดจากสายโลหิตนั้นวิปริตเอง  ชื่อว่า  “ เบญจสตรี ”  มีตัวพยาธิกินอยู่  เป็นเจ้าเรือนแห่งตน คือ

     1.  กินอยู่ในหัวใจ

     2.  กินอยู่ในตับ

     3.   กินอยู่ในปอด

     4.  กินอยู่ในนาภี

     5.  กินอยู่ในทรวงนม


     กิมิชาติ  ทั้ง  5 จำพวกนี้   กระทำให้อกแห้ง   มีตัวดังตัวด้วง   ปากดำแหลม   ตัวขาว    สมมุติว่า    งานม    ถ้ากุมารบริโภคนมดังนี้  เกิดโรคพยาธิต่าง ๆ


2.  ว่าด้วยว่าด้วยการฝังรกแห่งกุมาร

     ถ้าสตรีผู้ใดคลอดบุตรแล้วได้ 1  วัน  2  วัน  3  วัน  ก็ดี  ท่านห้ามว่า  ยังไม่ให้ฝังรกกุมารนั้น  เพราะว่า  พรายกุมภัณฑ์จะหอมกลิ่นแลจะมากินรกนั้น  ครั้นกินแล้วจะลามเข้าตัวมารดา   จะทำให้เป็นอันตรายต่าง ๆ

     ท่านกำหนดให้ฝังรกกุมารเมื่อคลอดได้  7  วัน  ไปจนถึง  1  เดือน  เมื่อจะฝังรกให้เอาแป้ง  หอม  น้ำมันหอม  ข้าวตอก  ดอกไม้  กฤษณา  จวงจันทน์  ธูปเทียนบูชา  บวงสรวงแก่เทพยดาเดินหนและบูชาพฤกษเทวดา  ภูมิเทวดา  และเทวดา  ให้นมัสการเสียก่อน  แล้วจึงฝังรกตามตำรา  ซึ่งท่านกล่าวไว้ดังนี้




        ถ้าฝังรกกุมารในทิศที่กำหนด  กุมารจะมีอำนาจ  มีความเจริญ  จะเป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย  จะอยู่ดีมีสุข  หาอันตรายมิได้  ถ้าฝังรกกุมารในทิศที่ห้ามจะเป็นอันตรายแก่มารดาและทารก

     ถ้ากุมารกุมารีผู้ใดคลอดจากครรภ์มารดา  ถ้ารกนั้นพันตัวกุมารออกมา  ท่านให้เอาย่างไฟไว้ให้กรอบ  แล้วเอาไปบดโรยลงในข้าวให้กุมารนั้นกิน  กุมารกุมารีจะไม่รู้อ้อนและร้องไห้  ทั้งหาอันตรายมิได้และปราศจากโรคทั้งปวงตราบเท่าใหญ่โต  ทั้งจะมีบุญกว่าคนทั้งหลายด้วย

 
3.  ว่าด้วยกุมารอยู่ในเรือนเพลิงและยารักษา

     กุมาร กุมารีต้องแม่ซื้ออยู่ในเรือนไฟ     ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาได้  7 วัน ไปจนถึงเดือนหนึ่ง  ถ้าเป็นไข้   มีอาการบิดตัว  หลังร้อน  นอนสดุ้ง  ร้องไห้มิหยุด  ให้หลงไหลเพ้อละเมอร้องไห้และหัวเราะ  มีอาการดังกล่าวนี้    เป็นเพราะกุมารต้องแม่ซื้อและแม่ซื้อนั้นหลอนเอง    ถ้าจะแก้ให้ปรุงยาทากระดูกสันหลัง   เพื่อดับพิษตานซางทั้งปวง

    ตัวยา     ลูกจันทน์  ฝางเสน   หวายตะค้า  ทั้ง  3  สิ่ง  ฝนด้วยน้ำมันงูเหลือม    ทาแก้สรรพตานทั้งปวง

     กุมาร กุมารีผู้ใดอยู่ในเรือนเพลิง  กุมารท้องขึ้นมิรู้หาย  ให้หน้าเขียว  มือเท้าเย็น    ตาช้อนดูสูง  ชักเท้ากำมือกำ   ถ้ากุมารเป็นดังนี้  เพราะกุมารผู้นั้นต้องผีรกแห่งกุมารนั้น  หากจะแก้มีตัวยา ดังนี้

     ตัวยา  เทียนดำ   หิงคุ์ ยางโพธิ์  ขิงแห้ง  สิ่งละ  1  ส่วน  เทียนแดง  2  ส่วน  กระเทียม  3  ส่วน  ใบกระพังโหม  8  ส่วน  ยาทั้ง  6  สิ่งนี้  บดละเอียดปั้นแท่งไว้  ละลายน้ำร้อน  กินบ้างทาท้องบ้าง   ทากระดูกสันหลัง  ทากระหม่อม  ฝ่ามือ  ฝ่าเท้า  ทารักแร้  ขาหนีบ  น่องและขา ดีนักแล


4.  ว่าด้วยเทพยดาและไม้มิ่งประจำปีแห่งกุมารกุมารี  






พระคัมภีร์ปฐมจินดาผูก  1  ปริเฉท  4        กล่าวถึงเรื่อง  6  ประการ ดังนี้

     1. ว่าด้วยโกมารภัจแพทย์ถามพระฤทธิยาธรดาบสผู้เป็นอาจารย์

     2. ลักษณะสตรีน้ำนมดีและชั่ว

     3. หญิง  4  จำพวก  จัดออกเป็น  4  ตระกูล  และวิธีทดลองน้ำนม

     4. ลักษณะน้ำนมพิการอีก  5  จำพวก

     5. ลักษณะน้ำนมโทษอีก  3  จำพวก และสตรีมีลักษณะน้ำนมเป็นโทษด้วยเหตุ  3  ประการ และสรรพยารักษา


1. ว่าด้วยโกมารภัจแพทย์ถามพระฤทธิยาธรดาบสถึงโรคเกิดแก่กุมาร กุมารี

     โกมารภัจแพทย์ถามฤทธิยาธรดาบสผู้เป็นอาจารย์ถึงโรคภัยต่าง ๆ แห่งกุมาร กุมารี ซึ่งเกิดมา ย่อมเกิดโรคต่าง ๆ จะเหมือนกันมิได้  ในพระคัมภีร์ปฐมจินดากำเนิดซาง ดังนี้



  (1)   กุมาร กุมารี  คลอดวัน  2,5,6  (จันทร์ พฤหัสบดี ศุกร์)   แต่ว่าโรคเบาบาง   แต่เหตุใดโรคจึงมากไป

          กุมาร กุมารี  คลอดวัน  1,3,4,7 (อาทิตย์  อังคาร  พุธ  เสาร์)    เลี้ยงยาก  โรคมาก   แต่เหตุใดจึงเบาบางไป  กลับเป็นดีไปได้

          คลอดวันดีกลับร้าย  คลอดวันร้ายกลับดี  ( ร้ายรักษาง่าย   ดีรักษายาก )

  (2)   กุมารที่ร้ายรักษาไม่รอด  คือ เกิดในวัน  1,3,4 และ 7    นั้น  กำเนิดซางร้าย  เลี้ยงยาก/ตาย

          กุมารที่ร้ายรักษาไม่รอด  คือ เกิดในวัน   2,5,6   นั้น       ไม่เป็นไร  เลี้ยงง่าย
 
  (3)   กุมารที่เกิดมาวันที่ร้าย  ต้องซางร้าย  แต่ว่าเลี้ยงง่ายเพราะอาศัยน้ำนมแห่งมารดานั้นดี  บริโภคจึงวิวัฒนาการเจริญขึ้น

          เชื่อว่า        

         เด็กคลอดจากครรภ์  วันจันทร์    พฤหัส  ศุกร์                   เลี้ยงง่าย    โรคเบาบาง
                                          วันอาทิตย์   อังคาร  พุธ  เสาร์         เลี้ยงยาก    โรคมาก

 




 
2. ลักษณะสตรีน้ำนมดีและชั่ว

ลักษณะน้ำนมให้โทษแก่กุมารในหญิง  2  จำพวก

     1. หญิงยักษ์ขินี

         มีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างเนื้อ  ลูกตาแดง  หนังริมตาหย่อน  ผิวเนื้อขาวเหลือง จมูกยาว  ห้องตัวยาว  นมยาน  หัวนมเล็ก    สะดือลึก  พูดเสียงแหบเครือดังการ้อง  รูปร่าง   สันทัดไม่พีไม่ผอม ฝ่ามือ/เท้ายาว กินจุ  มีกามแรง กุมารบริโภคน้ำนมเกิดโรค

     2. หญิงหัศดี
   
         มีกลิ่นตัวดังบุรุษ   ตาแดง  ผิวเนื้อขาว  นมดังคอน้ำเต้า  ริมฝีปากกลมพูดปากไม่ชิดกัน  เสียงแข็งดัง  เสียงแพะ  ฝ่าเท้าใหญ่ข้างหนึ่ง  เล็กข้างหนึ่ง  เดินสะดุด  กามราคะแรง    กุมารบริโภคน้ำนมดุจเอายาพิษให้บริโภค  เกิดโรคต่าง ๆ


ลักษณะแห่งแม่นมที่ดี   (เบญจกัลยาณี)

     1. กลิ่นตัวหอมดังกล้วยไม้ น้ำนมรสหวานมัน
        
         เต้านมดังดอกอุบลแรกแย้ม  ผิวเนื้อแดง  แก้มใส   เสียงดังสังข์  ไหล่ผาย  หลังราบ  สะเอวรัด  มือ/เท้าเรียว
 
 2. กลิ่นตัวหอมดังดอกอุบล น้ำนมรสหวาน
     
         เต้านมดังบัวบาน  ผิวเนื้อเหลือง  แก้มพอง  เสียงดังแตร  ไหล่ผาย  ตะโพกรัด  นิ้วมือ/นิ้วเท้าเรียวงาม   น้ำนมข้น

     3. กลิ่นตัวหอมเผ็ด น้ำนมมันเข้ม ขาวดังสังข์
        
         นมพวง    เสียงดังจั๊กจั่น   ปากดังปากเอื้อน  ตาดังทราย  ผมแข็งชัน     ไหล่ผาย     ตะโพกผาย    หน้าผากสวย   ท้องดังกาบกล้วย

     4. ไม่มีกลิ่นตัวหอมหรือเหม็น  น้ำนมมันรสหวาน
       
         เอวกลม  ขนตางอน  จมูกสูง   เต้านมกลม   หัวนมงอนดังดอกอุบลพึ่งจะแย้ม

                             
แม่นมเบญจกัลยาณี  1- 4  จัดถวายมหาบุรุษเจ้าเสวย  เรียกว่า    ทิพโอสถประโยธร





       หญิง  4  จำพวก  จัดออกเป็น  4  ตระกูล  และวิธีทดลองน้ำนม

   1. ตระกูลกษัตริย์
      
   2. ตระกูลเศรษฐีและเสนาบดี
 
   3. ตระกูลพ่อค้า    

   4. ตระกูลชาวนา


วิธีทดลองน้ำนม     เอาน้ำใส่ขันแล้วให้แม่นมนั้นหล่อนม  

                     
ลักษณะน้ำนมที่ดี
                              
   1.  น้ำนมสีขาว  ดังสีสังข์  จมลงในขัน   สัณฐานดังลูกบัวเกราะ จัดเป็นน้ำนมเอก
                   
   2.  ถ้าหล่อน้ำนมลง  น้ำนมกระจาย  แต่ว่าข้น   จมถึงก้นขันแต่ไม่กลมเข้า  จัดเป็นน้ำนมโท        


ลักษณะน้ำนมโทษ
                          
   1.  น้ำนมลอยเรี่ยรายอยู่ไม่คุมกัน (โลหิตกำเริบ)

   2.  น้ำนมจางสีเขียวดังน้ำหอยแมลงภู่ต้ม  รสเปรี้ยว  (ลมกำเริบ)

   3.  น้ำนมนั้นละลายไปกับน้ำ  รสฝาด  (ธาตุไฟและ กำเดากำเริบ)

   4.  น้ำนม คาว  กลิ่นเหม็นดังสาบแพะ (ปถวีธาตุและ เสมหะกำเริบ)

   5.  น้ำนม จางเป็นสายโลหิต  เป็นน้ำเหลือง (อาโปกำเริบ เพราะระดูขัด สตรีตั้งครรภ์อ่อนกุมาร   บริโภคเข้าไป)


 

ถ้าน้ำนมยังเป็นมลทิน  ท่านให้แต่ง  ยาประสะน้ำนม  เสียก่อน


ลักษณะน้ำนมพิการ 3 จำพวก

   1. สตรีขัดระดู

   2. สตรีไม่ได้อยู่ไฟ  น้ำนมเป็นน้ำนมดิบ

   3. สตรีครรภ์อ่อน  น้ำนมเป็นน้ำเหลือง



มารดาที่อยู่ไฟมิได้

     ท้องเขียว   ท้องด่าง  น้ำนมเป็นน้ำนมดิบ  ครั้นมารดาออกจากเรือนไฟไปแล้ว  ให้กุมารดื่มน้ำนมเข้าไป อาจทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ด้วยน้ำนมอันเป็นโทษ “น้ำนมดิบ” 3  ประการ

   -   น้ำนมจางเขียวดังน้ำต้มหอยแมลงภู่

  -   น้ำนมจางอันมีรสเปรี้ยว


  -   น้ำนมเป็นฟองลอย


สาเหตุสตรีที่มีน้ำนมเป็นโทษ

   - บริโภคอาหารแสลงธาตุ

   - อาหารไม่ควรบริโภคมาบริโภค

   - สตรีมีน้ำใจระคนไปด้วยมาตุกามเป็นนิจ    

 
 
         แพทย์ผู้ใดจะรักษากุมารกุมารี  ให้พิจารณาน้ำนมซึ่งเป็นมลทินโทษแห่งแม่นมนั้น  ถ้าเห็นเป็นโทษให้แต่งยาประจุโลหิตเสียก่อน  แล้วจึงแต่งยาบำรุงธาตุ   ยาประสะน้ำนม  แลยาทานมนั้นต่อไป  ให้นมนั้นปราศจากมลทิน


สรรพยารักษาในทางน้ำนม

เทียนทั้ง  5  โกฐสอ  โกฐเขมา  ลูกสมอไทย  ลูกสมอพิเภก  ลูกผักชีล้อม  ลูกผักชีลา   เกลือสินเธาว์  น้ำประสานทอง  ดอกสัตตบุษ  เบี้ยตัวผู้  สังข์  มหาหิงคุ์  พริกไทย  ขิงแห้ง  การบูร  ทั้ง   20  สิ่ง เสมอภาค  เอาผลสลอดสตุกึ่งยาทั้งหลาย   บดเป็นผงละเอียดละลายน้ำร้อนกินครั้งละ  2  สลึง


สรรพคุณ   ขับโลหิตร้าย  พิการตลอดถึงกุมารด้วย  และแต่งยาบำรุงโลหิตให้กินต่อไป

       แพทย์ชื่อว่าดวงตาอันบอด   แพทย์อิ่มไปด้วยความโลภ  ความหลง  มีจิตทิฏฐิมานะ

       แพทย์มิได้รู้กำเนิดแห่งซางและสรรพยา  แต่เขียนตำรา เที่ยวรักษาเพื่อหาประโยชน์   ดังนี้




หมอโกหกประกอบด้วย

       มีใจโลภใคร่ได้ทรัพย์   ถือทิฏฐิมานะว่าตนรู้กว่าคนทั้งหลาย

       ความหลงใหลถือผิดเป็นชอบ      มีความโกรธแก่ท่านทั้งหลาย

 

    โทษของคนไข้ที่หมอวางยาผิด

     แพทย์มิรู้จักกำเนิดแห่งสมุฎฐานโรคและวางยาผิด คนไข้ได้รับโทษ  ดังนี้

     1. วางยาผิดครั้งที่หนึ่ง       ดุจประหารด้วยหอก

     2. วางยาผิดโรคสองครั้ง     ดุจเผาด้วยไฟ

     3. วางยาผิดโรคสามครั้ง     ดุจต้องสายฟ้า (ฟ้าผ่า)  โรคนั้นจะบังเกิดเพิ่มขึ้นได้  100  เท่า  1000  เท่า


โทษของหมอที่วางยาคนไข้ผิด   ดังนี้

      1. แพทย์ผู้นั้น  เมื่อถึงแก่กรรมแล้วจะไปเกิดในนรก มีหมู่นายนิรบาลทำโทษต่าง ๆ
   
      2. เสื่อมความนับถือแก่คนไข้และผู้คนทั้งหลาย




ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต





ยาสตรีพฤกษเวช
สรรพคุณ ฟอกโลหิต แทนการอยู่ไฟ ขับระดูเน่าเสีย ขับน้ำคาวปลา ปวดเสียวท้องน้อย ปวดมดลูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำนม



ยาแก้มุตกิต              
สรรพคุณ แก้มุตกิต ระดูขาว ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้อักเสบบริเวณปีกมดลูก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น