คัมภีร์ตักศิลา


 โดย  ยส  พฤกษเวช
                 
พระคัมภีร์ตักศิลา     คือ  ตำราที่ว่าด้วยโรคระบาดอย่างรวดเร็วเหมือนห่าลงที่เมือง ตักกะศิลา  ในตำราใช้ว่า  โรคไข้พิษ  โรคไข้เหนือและโรคไข้กาฬ

ไข้พิษ     =    ไข้รากสาด  ไข้อีดำอีแดง  ไข้มาลาเรีย  ไข้มหาเมฆ  ไข้มหานิล  อาการปวด    ศีรษะ  ตัวร้อนดุจเปลวไฟ  ฟันแห้ง  น้ำลายเหนียว ตาแดงคล้ายสายเลือด ร้อนใน  กระหายน้ำ  มือเท้าเย็น  มีเม็ดขึ้นตามร่างกาย  เล็ก/ใหญ่  สีต่าง ๆ กัน ดำ  แดง  เขียว

ไข้เหนือ  =     คือ  ไข้ป่า  หรือไข้จตุดง  คือไข้ป่าทั้ง  4  ภาค  บางทีเรียกว่า  ไข้จับสั่นอาการปวดศีรษะ  อุจจาระผูก  ถึงเวลาไข้จับจะหนาวสั่นสะท้าน  มือเท้าเย็นใกล้สางเหงื่อออก  ตัวหายร้อน  มือเท้าอุ่น  กระหายน้ำ  ปวดปัสสาวะ สร่าง แล้วลุกนั่งเดินได้  ครั้นรุ่งขึ้นเมื่อถึงเวลาก็จับอีก  จับไปทุกวัน    บางทีก็เว้น 1 – 2 วัน  ถ้าจับหลายวันหน้าซีด  เบื่ออาหาร  ลิ้นเป็นฝ้าละอองขาว   แก้ไม่หายถึงตายได้

ไข้กาฬ   =     เมื่อเกิดทำให้มีพิษร้อนภายในเป็นกำลัง  เมื่อมีความร้อนจะมีเม็ดแดง ๆ  เท่ากับตุ่มยุงกัดขึ้นตามในลำไส้  ไต  ปอด  หรือม้าม  ทำให้มีอาการบวมขึ้นหรืออ่อนเหลวไป  มักตายภายใน  7  วัน  หรือ  11  วัน  เมื่อตาย  กาฬก็ผุดขึ้นตามผิวหนังเป็นแผ่น  เป็นแว่น  เป็นวง  สีแดงไหม้เกรียม


ไข้ในคัมภีร์ตักศิลา

1.  ไข้พิษไข้กาฬ    21   จำพวก

2.  ไข้รากสาด  (ไข้กาฬ)    9    จำพวก

3.  ไข้ประดง (ไข้กาฬแทรกไข้พิษ)   8    จำพวก

4.  ไข้กาฬ       10     จำพวก

5.  ฝีกาฬ (เกิดในไข้พิษ)      10     จำพวก

6.  ไข้กระโดง  (ไข้กาฬ)     4     จำพวก

7.  ฝีกาฬ        6      ชนิด

8.  ไข้คด  ไข้แหวน       2     จำพวก

9.  ไข้หวัด  (น้อย - ใหญ่)     2      จำพวก

10. ไข้กำเดา  (น้อย - ใหญ่)     2      จำพวก

11.  ไข้ใน  3  ฤดู     3      จำพวก  

          ลักษณะอาการของไข้พิษไข้กาฬ      บางทีไม่เจ็บไข้สบายปกติ  ไข้เกิดภายในผุดเป็นแผ่น เป็นเม็ด สีแดง ดำ เขียว หรือเป็นทรายทั่วตัว  ผุดได้  1  วัน  2  วัน  3  วัน จึงล้มไข้และทำพิษต่าง ๆ  ผุดเป็นแผ่น  เป็นวง  เป็นเม็ดทราย  สีแดง   สีดำ  สีเขียว  สีคราม   ให้ใช้ยากระทุ้งพิษไข้  ถ้ากระทุ้งพิษขึ้นไม่หมด  กลับลงไปกิน   ตับ   ปอด ทำให้ถ่ายออกเป็นโลหิต   เสมหะ  ลงทางปัสสาวะ   ให้ปิดปัสสาวะ  อาเจียนเป็นโลหิต  ไอ  ร้อนในกระหายน้ำ  หอบ  สะอึก  ลิ้นกระด้างคางแข็ง  ชักตาเหลือกตากลับ  บางทีทำพิษให้จับหัวใจ  นอนกรนไม่มีสติสมปดี   กระทำให้ปิตตะสมุฎฐานกำเริบให้เหลืองทั่วกาย


             ข้อห้าม  10  ประการ
ในการพิจารณารักษาไข้พิษไข้กาฬ

ห้ามวางยารสร้อน              
ห้ามวางยารสเผ็ด             

ห้ามวางยารสเปรี้ยว
ห้ามนวด              

ห้ามประคบ            
ห้ามถูกน้ำมัน           

ห้ามถูกเหล้า                                        
ห้ามกิน / อาบ  น้ำร้อน          

ห้ามกินส้มมีผิว มีควัน ห้ามกินกะทิ  ห้ามกินน้ำมัน               
ห้ามปล่อยปลิง (เอาโลหิตออก)
                                           

                                        ยารักษาไข้พิษไข้กาฬ    7  ขนาน 

ยาเบญจโลกวิเชียร
1. ยากระทุ้งพิษ  แก้ว 5 ดวง  หรือยา  5  ราก    ใช้กระทุ้งไข้พิษไข้กาฬออกมาให้สิ้น  กระทุ้งไม่หมดเกิดพิษภายในต่าง ๆ  อาจตายได้
2.  ยาประสะผิวภายนอก    กระทุ้งผิวภายนอก  ถ้ายังไม่ดีขึ้น ตัวร้อนเป็นเปลว  ตัวร้อนจัดแต่งยาขนานที่  3  พ่น ซ้ำอีก
3.  ยาพ่นภายนอก    ถ้าอาการไม่ดีขึ้น  ใช้ขนานที่  4  ต่อไป
4.  ยาพ่นและยากิน    แล้วต้มยาขนานที่  5  กินรักษาภายใน
5.  ยาแปรไข้    ให้กินแปรไข้ภายในแล้วประกอบยาขนานที่  6  พ่นแปรพิษภายนอกต่อไป
6.  ยาพ่นแปรผิวภายนอก    พ่นเพียง  3  ครั้ง เท่านั้น
          รักษาเป็นระยะมาแล้ว    อาการไข้ดีขึ้นตามลำดับ ให้กินยารักษาไข้ขนานที่  7  ต่อไป
7.  ยาครอบไข้ตักศิลา    กินเป็นยารักษาภายในเป็นประจำจนหาย


                                        ไข้พิษไข้กาฬ  21   จำพวก

ไข้อีดำ          
ผุดเป็นแผ่นขนาด 1-2 นิ้ว เท่าใบเทียน  ใบพุทรา ขึ้นทั่วตัวสีดำ   
อาการ     มือเท้าเย็น  ตัวร้อนเป็นเปลวเพลิง  ตาแดงดังโลหิต  ปวดศีรษะ  ร้อนเป็นตอนเย็นเป็นตอนไม่เสมอไป   บางทีจับตั้งแต่รุ่งจนเที่ยง  / เที่ยงจนค่ำ  / ค่ำจนรุ่ง

ไข้อีแดง          
ผุดเหมือนไข้อีดำแต่เม็ดสีแดง
อาการ     เหมือนไข้อีดำ  แต่ไข้อีแดงจะเบากว่าไข้อีดำ

ไข้ปานดำ          
ผุดขึ้นมาเท่าวงสะบ้ามอญ  เท่าใบพุทรา ขนาด 1-2 นิ้ว  สีดำ ถ้าขึ้นมาครึ่งตัวรักษารอดบ้างตายบ้าง  ถ้าผุดทั้งตัวสีดังผลตำลึงสุกผลหว้าสุก  สีดังคราม  สีดำดังหมึก  ลักษณะดังนี้ตาย
อาการ     มือเท้าเย็นบางทีเท้าร้อนมือร้อน  ตัวร้อนเป็นเปลว   ปวดศีรษะ  ตาแดงดังสายโลหิต ร้อนในอก ให้เชื่อมให้มัว พิษทำ ภายใน ยากระทุ้งไม่ออก  ทำให้ร้อนกระหายน้ำ หรือลิ้นกระด้างคางแข็ง


ไข้ปานแดง          
การผุดและอาการเหมือนไข้ปานดำ  สีแดงเบากว่าสีดำ

ไข้ดานหิน          
ผุดขึ้นที่ต้นขาทั้งสองข้าง  เป็นวงเขียว  เป็นผลสีหว้า สีคราม  สีผลตำตึงสุก  หรือสีหมึก
อาการ     จับตัวเย็นดังหิน  ร้อนกระหายน้ำ  ทำพิษให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง  ปากแห้ง  คอแห้ง  เชื่อมมัว ทำพิษให้สลบ  ควรรักษาตั้งแต่ยังอ่อน ถ้าเปื่อยลอกออกไปแล้ว  รักษาไม่หายตัดใน ๓ วัน ๗ วัน

ไข้มหาเมฆ      
ผุดขึ้นมาในเนื้อ  ยังขึ้นไม่หมด มีสัณฐานเท่าผลจิงจ้อสุก  เป็นเงาอยู่ในเนื้อ  ผุดทั้งตัวสีดำดังเมฆสีดำนิล
อาการ     ทำพิษให้เชื่อมมัว  ลิ้นกระด้างคางแข็ง  หอบ  สะอึก  ปากแห้ง  ฟันแห้ง  ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่รู้สึกตัว  เชื่อมมัวไม่เป็นเวลา   ไม่สมปดี  สลบ  ตายสามส่วนรอดส่วนหนี่ง
                                                      

ไข้มหานิล              
ลักษณะอาการเหมือนไข้มหาเมฆ

ไข้ระบุชาด           
ผุดขึ้นมาเป็นเมล็ด  เท่าเมล็ดผักปลัง   เท่าเมล็ดเทียน  เท่าเมล็ดงาก็มี  ขึ้นเป็นเหล่ากันอยู่ขนาด  1-2 นิ้ว  สีดังชาด ขึ้นทั้งตัว
อาการ    ทำพิษให้เชื่อมมัว  ร้อนในกระหายน้ำ หอบ สะอึก ทำพิษต่าง ๆ  ถ้าแพทย์รักษาดี รอดบ้าง

ไข้สายฟ้าฟาด      
ผุดเป็น ริ้ว ลงมาตามตัว  ทั้งหน้าทั้งหลัง  ขนาด 1-2 นิ้ว  แดงดังผลตำลึงสุก   เขียวดังสีครามก็มี  ดังสีผลหว้าสุกก็มี ดังสีดินหม้อก็มี
อาการ       ร้อนในกระหายน้ำ  ปากขม  ปากแห้ง  ฟันแห้ง  ร้อนเป็นเปลวไปทั้งตัว  เชื่อมมัวมาก  ไม่มีสติสมปฤดี  ให้สลบ  รักษาได้สักส่วนหนึ่ง ตายสามส่วน

ไข้ไฟเดือน  5      
ผุดขึ้นที่อก  ดำก็มี  แดงก็มี  สีดังเปลวไฟ
อาการ       ร้อนในกระหายน้ำ  เชื่อมมัวไม่มีสติ  ลิ้นกระด้างคางแข็ง   สลบ  ทำพิษให้ร้อนในอกเป็นกำลัง

ไข้เปลวไฟฟ้า      
ทำพิษให้ร้อนเป็นที่สุด  ร้อนเป็นเปลว  จับเอาหัวอกดำ  จมูกดำ  หน้าดำ   สีเป็นควัน
อาการ    ปากแห้ง  ลิ้นแห้ง  ฟันแห้ง  ปากลิ้นแตกระแหง  ลิ้นดำเพดานลอก   ให้สลบ  ไม่มีสติสมปฤดี  อาการนี้ส่วนตายสักสี่ส่วน

ไข้ข้าวไหม้น้อย  
ยากษัยเส้น
ผุดขึ้นมาเหมือนมดกัดเป็นแผ่นทั่วตัว  มียอดแหลมขาว ๆ
อาการ        ตัวร้อนเป็นเปลวไฟ  มือเท้าเย็น  เจ็บไปทั่วสรรพางค์กาย  เจ็บเนื้อในกระดูก  หอบ  สะอึก  ให้เชื่อมมัว  ลิ้นกระด้างคางแข็ง
                                                         
ไข้ข้าวไหม้ใหญ่  
การผุดเหมือน  ไข้ข้าวไหม้น้อย
อาการ        สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ปวดศีรษะมาก  ตาแดงดังโลหิต  มือเท้าเย็น  เจ็บในเนื้อในกระดูก  ลิ้นกระด้างคางแข็ง

ไข้กระดานหิน  
ผุดทั้งตัวเหมือนลมพิษ  แดงดังผลตำลึงสุก  เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนผดแล้วกลับดำลงติดเนื้อให้คัน
อาการ     สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ปวดศีรษะมาก  ตาแดงดังโลหิต  เท้าเย็นมือเย็น  ทำพิษเจ็บในเนื้อในกระดูก   ลิ้นกระด้างคางแข็ง  ให้หอบ  สะอึก  แพทย์รักษาดีพิษคลาย  ถ้าผุดไม่หายต่อ  3  เดือนจึงตาย

ไข้สังวาลพระอินทร์  
ผุดเป็นเม็ดแดง ๆ เป็นแถว ๆ  หญิงขึ้นซ้าย  ชายขึ้นขวา  สะพายแล่งคล้ายสังวาลย์
อาการ        เป็นพิษให้หอบ  สะอึก สะบัดร้อนสะบัดหนาว

ไข้ข้าวไหม้ใบเกรียม  
ผุดขึ้นทั้งตัว  ปวดในเนื้อในกระดูก  ผุดขึ้นมาดังลมพิษ  แดงผลตำลึงสุก  เป็นแผ่นทั่วตัว  ใหญ่ 2-3  นิ้วก็มี  เป็นเม็ดเล็กเหมือนมดกัดก็มีแล้วกลับดำ  ถ้ารักษาคลายพิษแล้วผุดขึ้นเป็นทิว แล้วกลับดำเป็นหนังแรด  อยู่  6  เดือนตาย  ถ้าลงกินตับ กินปอดขาดออกมาตาย
อาการ          สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ปวดศีรษะมาก  ตาแดงดังโลหิต  ร้อนเป็นกำลัง  มือเย็นเท้าเย็น  ทำพิษเจ็บในเนื้อในกระดูก   ลิ้นกระด้างคางแข็ง  ให้หอบ  สะอึก

ยาหอมพฤกษเวช
ไข้ดาวเรือง          
ผุดขึ้นมาเหมือนลายโคมครึ่งลูก
อาการ      จับเท้าเย็นมือเย็น  ตัวร้อนเป็นเปลว  ตาแดงดังโลหิต  ปวดศีรษะมาก   ดังตาจะแตกออกมา  อาเจียนเป็นกำลัง  ร้อนในกระหายน้ำ  ให้หอบ  สะอึก   ลิ้นกระด้างคางแข็ง  บางทีทำพิษถึงสลบ

ไข้หงษ์ระทด      
ลักษณะการผุด  ไม่มีการผุด  แต่ให้ตัวเกรียมไปทั่วทั้งตัว(ไข้ขอน)          
อาการ       ตัวร้อนเป็นเปลว  เท้าเย็นมือเย็น  เชื่อมมัว  หอบสะอึก  จับตัวแข็งเหมือนท่อนไม้   ลิ้นกระด้างคางแข็งไม่เป็นเวลา  ไม่มีสติสมปฤดี

ไข้จันทรสูตร      
ลักษณะการผุด  ไม่มีการผุด  ถ้าพระจันทร์ขึ้นทำพิษให้สลบ  พระจันทร์ไม่ขึ้นพิษถอยลง
อาการ      ตัวร้อนเป็นเปลว  เท้าเย็นมือเย็น  เชื่อมมัวไม่มีสติสมปฤดี  หอบสะอึก  จับตัวแข็งเหมือนท่อนไม้   ลิ้นกระด้างคางแข็งไม่เป็นเวลา

ไข้สุริยสูตร  
ลักษณะการผุดเหมือนไข้จันทรสูตร  ถ้าพระอาทิตย์ขึ้นทำพิษมากขึ้นจนอาทิตย์ตก  บางทีให้สลบ
อาการ       อาการเหมือนไข้จันทรสูตร

ไข้เมฆสูตร  
ลักษณะการผุดเหมือนไข้สุริยสูตร    แต่ผิดกันบ้างเวลาเกิดพายุฟ้าฝนเมฆตั้งขึ้นทั่วทิศ  กระทำพิษให้สลบ 
                           
ไข้รากสาด  (ไข้กาฬ)  9  จำพวก

ไข้รากสาดปานขาว    ผุดขึ้นมาเท่าผลพุทรา   ขาวเหมือนสีน้ำข้าวเช็ด
ไข้รากสาดปานแดง    ผุดขึ้นมาเป็นเมล็ดถั่วเล็กๆ แดงๆ เป็นหมู่  ขนาด  1-2  นิ้ว
ไข้รากสาดปานเหลือง    ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดเล็กๆ  มีขนาด  1-2-3  นิ้ว  ผิวเหลือง  ลิ้นเหลือง
ไข้รากสาดปานดำ    ผุดขึ้นมาเท่างบน้ำอ้อย  ดังนิล  ลิ้นดำ
ไข้รากสาดปานเขียว    ผุดขึ้นมาเป็นหมู่  ขนาด  1-2-3 นิ้ว  เขียวดังสีคราม   ลิ้นก็เขียว
ไข้รากสาดปานม่วง    ผุดขึ้นมา   สีดังผลผักปลังสุก    (ตาย)
ไข้รากสาดนางแย้ม    ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดเล็กๆ  ขนาด 1-2-3  นิ้ว  ลักษณะเหมือนดอกนางแย้ม
ไข้รากสาดพนันเมือง    ผุดขึ้นมาเป็นหมู่เป็นริ้วเหมือนตัวปลิง  โต ขนาด 1-2-3  นิ้วดำเหมือนดินหม้อไปทั่วทั้งตัว
ไข้รากสาดสามสหาย    ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดเล็ก ๆ  เหมือนเท้าสุนัขทีสีแดงทั่วทั้งตัว


อาการไข้รากสาด
    จับเท้าเย็นมือเย็น  ตัวร้อนเป็นเปลว  ปวดศีรษะมาก  ตาแดงเป็นโลหิต  จับเพ้อ  ร่ำรี้ร่ำไรดังปีศาจเข้าสิง  ชักมือกำเท้ากำ ตาเหลือกตาซ้อน  ร้อนเป็นตอนเย็นเป็นตอน  บางทีจับเหมือนหลับ จับตัวเย็น  เหงื่อตกมาก  แต่ร้อนภายในเป็นกำลัง  ให้หอบสะอึก  ลิ้นกระด้างคางแข็งจับเชื่อมมัวไม่มีสติสมปฤดี   บางทีกระทำพิษภายใน    ลง   ไอ   และอาเจียนเป็นโลหิต   เป็นเสมหะโลหิตเน่า  ผุดขึ้นมาเหมือนลายต้นกระดาษ ผุดขึ้นมาเป็นทรายขาวก็มี  เหมือนงูลายสาบก็มี  ลายเหมือนสายเลือดก็มี  ลายเหมือนดีบุกก็มี  ( อาการเหมือนกันต่างที่การผุด )   

      ไข้ประดง  (ไข้กาฬแทรกไข้พิษ)  8  จำพวก

ไข้ประดงมด    ผุดขึ้นมาเหมือน  ยุงกัด  ทั้งตัวคัน  ทำพิษแสบร้อน
ยาพฤกษาจันทน์

ไข้ประดงช้าง    ผุดขึ้นมาเหมือน  ผิวมะกรูด    ทำพิษปวดแสบปวดร้อน

ไข้ประดงควาย    ผุดขึ้นมาเหมือน  เงาหนอง    ทำพิษปวดแสบปวดร้อน

ไข้ประดงวัว    ผุดขึ้นมาเหมือน  ผลมะยมสุก  ทำพิษปวดแสบปวดร้อน

ไข้ประดงลิง    ผุดขึ้นมาเหมือน   เม็ดข้าวสารคั่ว  ทำพิษปวดแสบปวดร้อน

ไข้ประดงแมว    ผุดขึ้นมามีสัณฐานดัง  ตาปลา  ทำพิษปวดแสบปวดร้อน

ไข้ประดงแรด    ผุดขึ้นมามีสัณฐานแดงหนาดังหนังแรดแล้วทำให้คล้ำดำเป็นเกล็ดเหมือนหนังแรด

ไข้ประดงไฟ    ผุดขึ้นมาเหมือนระบุชาด  เม็ดแดงยอดดำ   จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว

อาการ    จับมือเย็นเท้าเย็น  ตัวร้อนเป็นเปลว  ร้อนใน  กระหายน้ำ  ให้หอบ  สะอึก    ให้เมื่อยในกระดูก   ให้เสียวไปทั้งตัว  สะท้านร้อนสะท้านหนาว  เชื่อมมัว  ปวดศีรษะเป็นกำลัง   ปากขม  ปากเปื่อย  ปากหวาน  ให้ปาก  คอ   ลิ้น   แห้งมาก  เพ้อ  กลุ้มอกกลุ้มใจ  (ลักษณะไข้ที่ไข้กาฬจะแทรก)

การวางยา        วางยาดับพิษ  กระทุ้งพิษกาฬ อย่าให้พิษกลับเข้ากระดูกได้   ให้ออกจากร่างกายให้หมดสิ้น ถ้าออกไม่หมด  ทำพิษคุดในข้อในกระดูก  กลับกลายเป็นโรคเรื้อน  โรคพยาธิ   ลมจะโป่ง  ลมประโคมหิน  บวมทุกข้อทุกลำ   มีพิษไหวตัวไม่ได้   ร้อนทั้งกลางวันและกลางคืน    ราวกับคอจะแตกออกไป    (ยกเว้น  ประดงแรด)       ประดงแรด    ถ้าแก้พิษคลายได้ปีหนึ่ง   แต่เม็ดยอดยังไม่หาย  จะกลายทำพิษให้คัน  ผิวหนาดังหนังแรด  แล้วให้ตกโลหิต กินตับกินปอดขาดออกมา……..ตาย
                                                    

ไข้กาฬ  10  จำพวก  (เกิดแก่คนทั้งหลาย)

ไข้ประกายดาษ      
ผุดเหมือน   เม็ดฝีดาษ ขึ้นทั่วตัว  ทำพิษให้สลบ
อาการ     สะท้านร้อนสะท้านหนาว  จับเท้าเย็นมือเย็น  ปวดศีรษะ    ตาแดงดังโลหิต  เชื่อมมัว  ปวดในเนื้อในกระดูก   ลิ้นกระด้างคางแข็ง  หอบ  สะอึก

ไข้ประกายเพลิง  
ผุดเหมือน ประกายดาษ ขึ้นทั่วตัว  แต่เม็ดใหญ่เท่าเมล็ดเม็ดทราย
อาการ  เหมือนประกายดาษ  ศีรษะร้อนเป็นไฟเหมือนไฟลวก  ทำพิษมาก

ยาดับพิษตับ
ไข้ออกหัด          
ผุดเป็นเม็ดทรายทั่วทั้งตัว มียอดแหลมๆ ถ้าหลบเข้าท้องให้ลง
อาการ  สะท้านร้อนสะท้านหนาว  เชื่อมมัว  ปวดศีรษะอยู่    1  หรือ  2  วัน  จึงมีเม็ดผุดขึ้นมา

ไข้ออกเหือด      
ผุดเหมือนไข้ออกหัด  แต่ยอดไม่แหลม

ไข้งูสวัด          
ผุดเป็นเม็ดทรายขึ้นเป็นแถว  สัณฐานเหมือนงู  เป็นเม็ด(ตวัด) พอง ๆ    เป็นเงาหนองก็มี  หญิงเป็นซ้าย  ชายเป็นขวา ถ้าข้ามสันหลัง  รักษาไม่ได้ มีพิษร้อนดังไฟจุด
อาการ  สะท้านร้อนสะท้านหนาว  บางทีปวดศีรษะ  บางทีไม่จับ

ไข้เริมน้ำค้าง      
ผุดเป็นแผ่น  ขนาด  1-2-3-4  นิ้ว  เป็นเหล่า ๆ กันมีน้ำใส ๆ
อาการ   สะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมมัว  ปวดศีรษะ

ไข้เริมน้ำข้าว      
ผุดและอาการเหมือนเริมน้ำค้าง  แต่เม็ดจะมีสีขุ่น

ไข้ลำลาบเพลิง      
ผุดขึ้นมาเป็นแผ่น
ยาเบาหวาน
อาการ  จับสะท้านร้อน/หนาว  ปวดศีรษะ  เชื่อมมัว  ทำพิษต่าง ๆ   ถ้าวางยาไม่ดี   น้ำเหลืองแตกตาย
                                                          
ไข้ไฟลามทุ่ง              
ผุดเป็นแผ่นเหมือนลำลาบเพลิง   แต่อาการเป็นรวดเร็วกว่า

ไข้กำแพงทลาย          
ผุดขึ้นมาหัวเดียว  ทำพิษมาก
อาการ   จับสะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมมัว   ร้อนในกระหายน้ำ  ฟกบวมขึ้น   ถ้าน้ำเหลืองแตกพังออกมา  วางยาไม่หยุดตาย  
 
ฝีกาฬเกิดแทรกในไข้พิษ  10  จำพวก

กาฬฟองสมุทร  
ผุดขึ้นมาเท่าเมล็ดงา  เมล็ดถั่ว  เมล็ดผักปลังสุก  เมล็ดถั่วดำ  นูนสูงขึ้นมาเป็นหลังเบี้ยก็มี  เกิดขึ้นในปาก ลิ้น  เพดาน
อาการ       ขึ้นในปากทำพิษ  กินข้าว/น้ำ ไม่ได้  สะท้านร้อน  สะท้านหนาว  เชื่อมมัว  ตัวร้อนเป็นเปลว

กาฬเลี่ยมสมุทร            
ผุดขึ้นที่ริมฝีปากทั้งสองข้าง    บางทีเท่าเมล็ดถั่วดำ
อาการ    ถ้าเม็ดแตกร้าวเป็นโลหิตไหล  ทำพิษจับสะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมซึม

กาฬทามสมุทร  
บวมยาวขึ้นมาตามข้างลิ้น  ต้นลิ้น (โคนลิ้น)  ข้างขากรรไกร  ตามไรฟัน
อาการ     จับสะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมมัว ลิ้นแข็งเจรจาไม่ได้

กาฬทามควาย       
บังเกิดแต่ต้นกรามทั้งสองข้าง  สัณฐานยาวเหมือนตัวปลิง
อาการ    จับสะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมมัว

กาฬไข้ละลอกแก้ว  
เกิดท่ามกลางไข้พิษ  สัณฐานเท่าผลผักปลังก็มี  เท่าเมล็ดถั่วดำก็มี  เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็มี  เท่าเมล็ดจิงจ้อก็มี  เป็นเงาหนองก็มี   

ไข้กาฬทูม           
บวมตามขากรรไกรทั้งสองข้าง  บางทีบวมข้างเดียว
อาการ   จับสะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมมัว  ตัวร้อนเป็นเปลว ร้อนในกระหายน้ำ

ไข้กาฬทาม           
อาการเหมือนกาฬทูม  ต่างกันที่บวมตั้งแต่ขากรรไกรมาถึงคอทั้งสองข้าง

ไข้มะเร็งตะมอย      
ผุดขึ้นมาเท่าหัวแม่มือ  ผลจิงจ้อ  ถ้าฐานขาว  หัวดำ  ทำพิษหนัก   บางทีผุดขึ้น  ที่ตัว  แขน  ขา  ถ้าให้ยาไม่หายแตกออกแล้วไม่ตาย   กลายเป็นมะเร็ง
อาการ   จับสะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมมัว
ยาบำรุงไต

ไข้มะเร็งปากทุม      
ผุดจากหลังทั้งสองข้าง  ข้างเดียวก็มี  สัณฐานยอดเขียว (ทูม) เหมือนน้ำคราม
อาการ   ทำพิษต่าง ๆ  ถ้าแก้ไม่หายแตกออกจะลงไปเหมือนปากทูม  (ปากบวมอูม)  ถ้าแก้ดีไม่ตายจะกลายไปเป็นมะเร็งปากหมู

ไข้มะเร็งเปลวไฟ      
ผุดขึ้นมาเท่าวงสะบ้า   ยอดเขียว
อาการ  ทำพิษเหมือนถูกไฟไหม้  ให้สลบ  ถ้าแตกหวะออกไปได้.. ตาย




         ไข้กระโดง  (ไข้กาฬ)  มี  4  จำพวก

ไข้กระโดงไฟ      
เป็นพิษเหมือนเปลวไฟเผาทั่วกาย
อาการ   ร้อนใน  กระหายน้ำ  ปาก  ฟัน  ลิ้น  คอ  แห้ง

ไข้กระโดงน้ำ  
อาการ  นอนเชื่อมมัว  ไม่มีสติสมปฤดี  เอารังมดแดง มาเคาะให้กัดก็ไม่รู้สึกตัว

ไข้กระโดงแกลบ  
สัณฐานผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดทรายทั่งตัว  คันเป็นกำลัง  เกาไม่หายคัน  เอาไม้ขูดให้โลหิตออกทั้งคัวก็ไม่หายคัน

ไข้กระโดงหิน  
ทำพิษต่าง ๆ ไม่รู้จะบอกแก่ใครได้ ให้ยืนทีเดียวถ้าจะนั่งถ่ายอุจจาระปัสสาวะเจ็บปวดแทบจะขาดใจตาย 
ลักษณะไข้กระโดงทั้ง ๔ มีอายุแค่ ๑ วัน ๒ วัน ถ้าแพทย์จะแก้แต่วัน ๑ ไม่ถอยตาย

                  ฝีกาฬ  6  ชนิด

กาฬมะเร็งนาคราช  
เกิดที่หัวแม่มือทั้งสองข้าง  ข้างเดียวก็มี  เท่าเมล็ดถั่วเขียว  ถั่วดำ  ผลผักปลัง  เลื่อมเป็นหลังเบี้ย  เท่าผลมะยม    เท่าเม็ดหิน
อาการ  สะท้านร้อน/หนาว  เชื่อมมัว  ปวดศีรษะ  ทำพิษ ที่ผุดขึ้นมา เหมือนถูกไฟ  ให้มือดำเหมือนดินหม้อ  ทำพิษให้กลุ้ม   หัวใจแน่นิ่งไป  ถ้ารักษาไม่คลายมือดำแขนดำ..ตาย

กาฬฟองสมุทร  (ไข้ช่องสมุทร)          
ผุดขึ้นมาตามช่องอก  ตามราวนมเท่าวงสะบ้ามอญ เขียวก็มี  ดำก็มี  ขนาด  2 นิ้ว 3 นิ้ว  ยาวรีไป  
อาการ  เชื่อมมัว  ร้อนในกระหายน้ำ  ตัวร้อนเปลว   ตาแดงดังโลหิต  ลิ้นกระด้างคางแข็ง หอบสะอึก ปากคอ  ฟันแห้ง ปวดศีรษะ อาเจียน ร้อนเป็นกำลัง  
                                                        
กาฬตะบองพะลำ  
ขึ้นที่ขาหนีบทั้งสองข้าง  ในที่ลับ  มีสัณฐานโตเท่า  นิ้วหนึ่งก็มี  แดงก็มี ดำก็มี  เขียวก็มี ยาวเท่ามือ
อาการ  ลิ้นกระด้างคางแข็ง  จับแน่นิ่ง

กาฬแม่ตะงาว   
ขึ้นมายาวรี  ขนาด  1-2  นิ้ว  ขึ้นขาหนีบ ต้นขาในที่ลับทั้งสองข้าง  ขึ้นตามรักแร้  ตามหลังตามอก
อาการ  ทำพิษให้สลบ  ถ้าไม่รู้โรคสำคัญว่าลมจับ  สงสัยเอาเทียนส่องดู

กาฬตะบองชนวน (ไข้ตะบองชนวน)          
ยาสิงฆานิกา
ผุดขึ้นมีสัณฐานเรียวเล็กเท่าหวายตะค้า  ขนาด 1-2 นิ้ว  ยาวรี  ผุดขึ้นมาบั้นเอว  ก้นกบ  ขาทั้งสอง  ในที่ลับ  ท้องน้อย  ราวข้าง  ใต้รักแร้  มีสีดำ  แดง เขียว
อาการ   ลิ้นกระด้างคางแข็ง  สลบ

กาฬตะบองกาฬ    (ละบองกาฬ)  
ยังพูดดี ๆ เดินเหินได้  ผุดตามราวข้าง    โตขนาดผลมะตูม  ขึ้นตามบั้นเอว  คอต่อ  หัวไหล่  ข้อศอก  ข้อมือ  ท้า  ขา  เข่า  โคนขาทั้งสองข้าง  บวมลื่นขึ้นมา
อาการ   เชื่อมมัว  ปาก  ฟัน  ลิ้น  คอ  แห้ง หอบสะอึก    ลิ้นกระด้างคางแข็ง    ไม่มีสติสมปฤดี   ร้อนในกระหายน้ำ  คลั่งเพ้อละเมอไป  เคลื่อนไหวตัวไม่ได้


             ไข้คด ไข้แหงน  2  จำพวก

ไข้คด   อาการจับ  ชักงอเข้าจนเส้นหลังขาดตาย
      
ไข้แหงน   อาการจับ  ไข้ชักแอ่นอกจนเส้นท้องขาดตาย

ไข้ทั้ง สอง  มีอายุได้เพียงวันเดียว 

จุดสำคัญของไข้ทั้งสอง  ให้เอามือกดที่เนื้อ  แขน   ขา  ถ้าพองขึ้นไม่ตาย  หรือเอามือล้วงคอหรือทวารหนัก  ถ้ายังอุ่นอยู่  อาการทุเลาพอรักษาได้


          ไข้หวัดน้อย  ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดน้อย    
สะบัดร้อน/หนาว  ปวดศีรษะมาก  ระวิงระไว  ไอ  จาม  น้ำมูกตก

ไข้หวัดใหญ่
สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ปวดศีรษะ  ไอ  จาม  น้ำมูกตกมาก  ตัวร้อน  อาเจียน ปากแห้ง  ปากเปรี้ยว ปากขม  กินข้าวไม่ได้  แล้วแปรไปไอมาก  ทำพิษให้คอ  ปาก   ฟัน  จมูก  น้ำมูกแห้ง    บางทีทำให้น้ำมูกไหลหยดย้อย  เพราะมันสมองนั้นเหลวออกไป  หยดจากจมูกทั้งสองข้างไปปะทะกับศอเสมหะ  (เสมหะในลำคอ)  ทำให้ไอ  รักษาไม่คลายกลายเป็นริดสีดวง  มองคร่อ (หลอดลมโป่งพอง)  หืด ไอ  และฝี  7  ประการ

การรักษา 
ให้ยาลดไข้  ให้ผู้ป่วยนอนพักมาก ๆ  ให้ความอบอุ่นแก่ร่ายกาย (สวมเสื้อผ้า) ทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย  อยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ห้าม    อาบน้ำหรือถูกน้ำเย็น

                                                                            
          ไข้กำเดาน้อย  ไข้กำเดาใหญ่

ไข้กำเดาน้อย      
ปวดศีรษะ  ตาแดง  ตัวร้อนเป็นเปลว  ไอ  สะบัดร้อนสะท้านหนาวปากขม  ปากเปรี้ยว  กินข้าวไม่ได้  อาเจียน  นอนไม่หลับ

ไข้กำเดาใหญ่      
ปวดศีรษะมาก  ตาแดง  ตัวร้อนเป็นเปลว  ไอ  สะบัดร้อนสะท้านหนาว    ปาก คอ  เพดาน  ฟันแห้ง  ให้เชื่อมมัว  เมื่อยทั้งตัว   สะบัดร้อนสะท้านหนาวไม่เป็นเวลา    บางทีผุดเป็นเม็ดเท่ายุงกัดทั้งตัว  แต่ไม่มียอด   บางทีไอเป็นโลหิตออกทางจมูก/ปาก   ชักเท้ากำมือกำ  แก้ไม่หายภายใน  3 วัน 5  วัน   สำคัญผิดว่าเป็นไข้เพื่อเส้นเพื่อลมอัมพฤกษ์และไข้สันนิบาต  ไม่รู้วิธีแก้ไข้กำเดาจะเกิดกาฬ 5 จำพวกแทรกขึ้นมา คือ  กาฬฝีพิษ(กาฬพิพิธ) กาฬฝีฟกกาฬพิพัธ)  กาฬคูถ  กาฬมูตร  กาฬสิงคลี  ไม่มีการผุดเป็นแผ่นเป็นวง แต่จะบังเกิดกาฬทีเดียว  ถ้าไม่ตายภายใน 7  วัน  9  วัน  11  วัน จะกลายเป็นไข้สันนิบาตสำประชวรบุราณชวร

ไข้กำเดาเป็นไข้สำคัญ  เปรียบกับดวงอาทิตย์ขึ้น   1  ดวง   โลกเป็นสุข   2  ดวง  โลกกระวนกระวาย 3 ดวง  สัตว์ทั้งหลายตายหมด
                                                                            
                    ไข้ใน  3  ฤดู

ไข้ในคิมหันตฤดู เดือน  5 -  6 -  7  -  8 ไข้เพื่อโลหิต  เป็นใหญ่กว่า  ลมเสมหะ                                              
ไข้ในเหมันตฤดู เดือน  1 -  2 -  3 -  4  ไข้เพื่อกำเดาและดี เป็นใหญ่กว่า  ลมเสมหะ

ไข้ในวสันตฤดู  เดือน  9 -  10 -  11  -  12   ไข้เพื่อลม  เป็นใหญ่กว่า  เลือดเสมหะ
 
ยาจันทลีลา
 
ลักษณะอาการไข้ในวสันตฤดู

นอนละเมอเฟ้อฝัน     เป็นหวัดมองคร่อ ( โรคหลอดลมโป่งพอง )   หิวหาแรงมิได้      เจ็บปาก  เท้าเย็น มือเย็น  น้ำลายมาก  กระหายน้ำบ่อย   อยากเนื้อพล่า  ปลายำ อยากกินหวานกินคาว  บิดขี้เกียจคร้าน  เป็นฝีพุพอง  เจ็บข้อมือข้อเท้า  สะท้านหนาว

การรักษาไข้ในวสันตฤดู
แพทย์ต้องวางยาร้อน  จึงถูกกับโรค




ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น