คัมภีร์ชวดาร


โดย  ยส  พฤกษเวช

               อาจารย์กล่าวไว้ว่า  มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดสรรพโรคต่าง ๆ  ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาตราบเท่าจนอายุขัย  อาศัยโลหิตและลมต่อไปนี้สำแดง  ซึ่งลมอันบังเกิดโทษให้ถึงพินาศอันตรายเป็นอันมาก คือ

     ลมอันบังเกิดโทษให้ถึงพินาศอันตรายเป็นอันมาก  ๒  ประการ

      - อุทธังคมาวาต : พัดขึ้นเบื้องบน

      - อโธคมาวาต : พัดลงไปจนปลายเท้าเป็นเบื้องต่ำ

        ถ้าลมทั้งสองระคนกันเข้าเมื่อใด  จะทำให้โลหิตนั้นร้อนดังไฟ  อันเกิดได้วันละ  ๑๐๐  หน อาการทั้ง  ๓๒  ก็พิกลจากภาคที่อยู่  เตโชธาตุก็มิปกติ  เหตุที่ทำให้ลมทั้งสองระคนกันได้และให้โทษแก่มนุษย์ทั้งปวง  เนื่องจาก


               ๑.  บริโภคอาหารมิได้เสมอ
  
               ๒.  ต้องร้อนต้องเย็นยิ่งนัก


สาเหตุที่ทำให้ลมทั้งสองระคนกัน


               - อาหารให้โทษ  ๘  ประการ

                    ๑.  กินมากกว่าอิ่ม

                    ๒.  อาหารดิบ

                    ๓.  อาหารเน่า

                    ๔.  อาหารบูด

                    ๕.  อาหารหยาบ

                       ๖.  กินน้อยยิ่งนัก

                      ๗.  กินล่วงผิดเวลา

                     ๘.  อยากเนื้อผู้อื่นยิ่งนัก

               - ต้องร้อนต้องเย็นยิ่งนัก        ดังนั้น  ลมอโธคมาวาตา  จึงพัดขึ้นไปหาอุทธังคมาวาตา บางทีลมอุทธังคมาวาตาก็พัดลงมาหาลมอโธคมาวาตา  จึงพัดโลหิตเป็นฟอง  อาการ  ๓๒  จึงเคลื่อนจากที่อยู่
  
               เหตุที่เป็นไข้เยียวยายากยิ่งนัก  ท่านวิสัชนาไว้ว่า    อาศัยลมอันหนึ่ง  ชื่อ  หทัยวาต   เกิดขึ้นในน้ำเลี้ยงหัวใจ  ถ้ามนุษย์ผู้ใดถึงแก่อายุขัยแล้วเยียวยารักษามิหาย   ถ้าเป็นปัจจุบันโทษยังมิตัด  พึงให้รวมยาระงับลมหทัยวัตถุเสียก่อน แล้วจึงให้แต่งยานี้

               - ยาจิตรารมณ์     ตรีผลา  สิ่งละ  ๒  สลึง  เปลือกผลส้ม  ๘  ประการ สิ่งละ  ๑  สลึง  ขอนดอก ๑  บาท  กฤษณา  ๑  บาท  กระลำพัก  ๑  บาท  ชะลูด  ๓ สลึง  อบเชย ๑  บาท  ชะเอมทั้ง ๓  สิ่งละ  ๖ สลึง  ดอกพิกุล ๓  สลึง  ดอกบุนนาค ๒  สลึง  สารภี ๑  บาท  ผลจันทน์ ๑  เฟื้อง  ดอกจันทน์ ๑  เฟื้อง  เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๑ เฟื้อง  โกศสอ ๑  บาท  โกศพุงปลา ๒  สลึง  เปราะหอม ๖ สลึง  พริกไทยล่อน ๑  บาท  จันทน์ ๒  สิ่งละ ๓  สลึงเฟื้อง  ชะมดเชียง ๑  บาท  การบูร ๑  บาท พิมเสน ๗ สลึง  ผลสะเดาอ่อน ๑  ตำลึง  กระแจะตะนาว ๑  บาท  ดอกมะลิสดเท่ายาทั้งหลาย   น้ำดอกไม้เทศเป็นกระสายยา  บดทำแท่งไว้เท่าผลมะแว้ง  ละลายน้ำร้อน  น้ำผึ้ง  น้ำส้มซ่า  น้ำสุรา  กระสายยาต่างๆ  แทรกน้ำตาลกรวดกิน  แก้ลมสวิงสวาย  และดวงจิตระส่ำระสาย และให้วิงเวียน  ลมตรีโทษเกิดในหทัย  และดวงจิตขุ่นมัว  และร้อนในอก ร้อนในสันหลัง  กินหายแล

               - ยากล่อมอารมณ์   แก้ลมปัจฉิมที่สุด  ลมตรีโทษหทัยวาต บังเกิดดุจหม้อข้าวเดือด ชื่อว่าลมทักขิณคุณ ท่านให้เอาผลกัญชาเทศ๑ ( ถ้ามิได้ผลเอาใบก็ได้ )  กฤษณา  ๑  กระลำพัก  ๑  ขอนดอก  ๑  ชะลูด ๑  อบเชย ๑  ชะเอมทั้ง ๒  ดอกส้ม  ๘  ประการ  ดอกขิง ๑  ดอกข่า ๑ ดอกขมิ้น ๑  ดอกกะทือ ๑  ดอกไพล ๑  เทียนทั้ง ๕  โกศสอ ๑  ดอกพิกุล ๑  ดอกบุนนาค ๑  ดอกสารภี ๑  ผลผักชีทั้ง ๒  มหาหิงคุ์ ๑  ใบกระท่อม ๑  กระเทียม ๑  ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ  ๒  สลึง  ดอกมะลิ ๒  ตำลึง  จันทน์ทั้ง ๒  สิ่งละ ๒ สลึง  พิมเสน ๕  สลึง  กานพลูกึ่งยาทั้งนั้น  การบูรเท่ายาทั้งนั้น   น้ำผึ้งเป็นกระสายปั้นเท่าผลหวาย  น้ำกระสายยักใช้ตามโรคนั้นเถิด


               อันว่าลมเกิดในทิศเบื้องต่ำ  คือ  ลมอัมพฤกษ์อัมพาต ลมทั้ง ๒  นี้บังเกิดแต่ปลายแม่เท้าไปตราบเท่าเบื้องบนอัมพฤกษ์ อัมพาต นั้นเป็นที่ตั้งแห่งลมทั้งหลาย  อันบังเกิดจรได้ละ ๑๐๐ ละ ๑,๐๐๐  หน

ลมมีพิษมาก  ๖  จำพวก

               - ลมกาฬสิงคลี : ถ้าจับ  ให้หน้าเขียว   ขอบตาเขียว  บางทีจับหัวใจสั่น  บางทีถอนหายใจฮึดฮืด  บางทีให้ดิ้นดุจตีปลา  ให้ผุดเป็นวงดำ  วงแดง  วงเหลือง  วงเขียว  เท่าใบพุทรา เท่าแว่นน้ำอ้อย  กำหนด  ๓  วัน

               - ลมชิวหาสดมภ์ : แรกจับ  ให้หาว  ให้เรอ  ให้เหียน  ขากรรไกรแข็งอ้าขบลงมิได้  ให้นิ่งแน่ไปไม่รู้สึก  ปลุกมิตื่น  กำหนด  ๓  วัน  ๗  วัน

               - ลมมหาสดมภ์ : เมื่อจับ  ให้หาวนอนเป็นกำลัง  ให้นอนแน่นิ่งไป มิรู้สึกกายแล

               - ลมทักขิณโรธ : เป็นไข้อันใดๆ ก่อน  ให้จับมือเท้าเย็น  จักษุมัว  ห้ามมิให้วางยาผาย  ให้ดิ้นรนหยุดมิได้อยู่  เจรจามิได้  ลิ้นกระด้างคางแข็ง  แพทย์จะแก้ ๆ ให้จงดี


               - ลมตติยาวิโรธ : ให้มือเท้าเย็น  เป็นลูกกลิ้งอยู่ในท้อง  ให้จุกร้องดังสัตว์ตอด สัตว์กัด  บางทีปวดแต่แม่เท้าขึ้นมาจนถึงหัวใจ  นิ่งแน่ไปดุจดังพิษงูเห่า

               - ลมอีงุ้มอีแอ่น : เมื่อล้มไข้เหมือนสันนิบาต   เมื่อจับนั้นอีงุ้มงอไปข้างหน้า อีแอ่นงอไปข้างหลัง  ถ้าลั่นเสียงเผาะเมื่อใดตายเมื่อนั้น

ลมอันมีพิษ  อีก  ๖  จำพวก

               - ลมอินทรธนู : เมื่อล้มไข้เหมือนรากสาด  เป็นวงล้อมสะดือแดง  สะดือเขียว  สะดือเหลือง เท่าวงน้ำอ้อยงบ  แต่ชายโครงตลอดจนหน้าผาก  พิษนั้นให้อื้ออึงคะนึงแต่อยู่ในใจ  ให้เพ้อพกดังผีเข้าอยู่  ถ้าหญิงเป็นซ้าย  ชายเป็นขวาอาการตัด

               - ลมกุมภัณฑ์ยักษ์ : ล้มไข้ลงดุจสันนิบาต  เมื่อจับให้ชักมือกำเท้างอ ไม่ได้สมปฤดี  กำหนด ๑๑ วัน

               - ลมอัศมุขี : เป็นทั้งผู้ใหญ่และเด็ก   ให้ดิ้นร้องแล้วชักแน่ไปไม่ได้สมปฤดีเลย

               - ลมราทยักษ์ : ล้มไข้ลงดุจอย่างสันนิบาต   เมื่อจับให้มือกำชัก เท้างอ   ลิ้นกระด้างคางแข็ง  กำหนด  ๑๑  วัน

               - ลมบาดทะจิต : ล้มไข้ลงดุจอย่างสันนิบาต   แรกจับให้ละเมอเพ้อพกว่านั่นว่านี่  ทำอาการดุจปีศาจเข้าอยู่ บางทีว่าบ้าสันนิบาต  เพราะเหตุจิตระส่ำระสาย  กำหนด  ๑๐ วัน

               - ลมพุทธยักษ์ : ให้ชักกระสับกระส่าย  ให้ขบฟันเหลือกตา  ให้มือกำเท้างอ  ปากเบี้ยว  จักษุแหก   แยกแข้งแยกขา  หาสมปฤดีมิได้

               ลมจำพวกเหล่านี้เยียวยายากนัก   เป็นปัจฉิมที่สุดโรคแล้ว  พิจารณาดูทวารหนัก ทวารเบา  ถ้ายังอุ่นอยู่  ให้แก้ต่อไป  ประการหนึ่ง  ให้ดูผิวเนื้อ  เอานิ้วมือกดลงแล้วยกขึ้นดู  ถ้าหาโลหิตมิได้  เป็นรอยเขียวซีด  อาการตัดแล

               อนึ่ง  ในคัมภีร์มหาโชตรัต  ว่าโลหิตให้โทษแก่สตรีคลอดบุตร  และชายต้องบาตรโลหิตตีขึ้นไป  ถึงแก่วินาศเป็นอันมาก   โลหิตทำพิษตีขึ้นดังนี้  อาศัยลมจึงตีขึ้นไปได้   อุปมาเหมือนคลื่นอันอาศัยลม ๆ กล้า  แล้วซัดท่วมขึ้นไปบนฝั่งและภูเขา  โลหิตจึงเป็นฟอง  ดังบุคคลเคี่ยวด้วยเพลิงวันละร้อยละพันหน  มีไออันฟุ้งขึ้นไปด้วยกำลังวาโยธาตุ  ทำหทัย  ดี  ตับ  ม้าม  ให้เศร้าหมองเชื่อมมึน  มีหัวใจระส่ำระสายซบเซา  ก็บังเกิด  ลมสัตถกะวาต  ลมหทัยวาตกำเริบ   กระทำให้จักษุไม่เห็น  โสตประสาทมิได้ยิน  ชิวหาและนาสิกมิรู้จักรสกลิ่นสิ่งใด หาสติสมปฤดีมิได้  หทัยวัตถุก็แตกออก  ถึงแก่วินาศเพราะด้วยกำลังลม

การรักษาโรคลม

     พิจารณาว่าลมนั้นบังเกิด  ณ  ที่ใด  เกิดเพื่อเส้น เนื้อ  โลหิต  กระดูก  ผิวหนัง  หัวใจ  แล้วจึงพิจารณายาควรแก่โรค

     ถ้าลมจำพวกใดบังเกิดขึ้นในเส้น     >>>>>     ชอบนวดและยาประคบ กินยาแก้ลมในเส้นจึงหาย

     ถ้าลมจำพวกใดบังเกิดแต่โลหิต     >>>>>     ให้ปล่อยหมอน้อย (ปลิง)  กอกศีรษะ  กินยาในทางลม  ทางโลหิต จึงหาย   

     ถ้าลมจำพวกใดบังเกิดในผิวหนัง     >>>>>     ชอบทายาและรม และกอกลม  กินยาในทางลม  และรักษาผิวหนังให้บริบูรณ์  จึงหายแล

ยารักษาโรคลม

               - ยาวาตาพินาศ     แก้ลมร้าย     เบญจกูล  สิ่งละ ๒  สลึง  ผลคนทีสอ ๑  ตรีผลา ๑  ลำพัน ๑ 
ยามหาพฤกษเวช
เทียนทั้ง ๕  มหาหิงคุ์ ๑  ยาดำ ๑  ใบมะตูม ๑  ใบสหัศคุณ ๑  ใบกระวาน ๑  ใบสลอด ๑  ผักชีล้อม ๑  ผักชีลา ๑  ผลโหระพาเทศ ๑  กระเทียม ๑  เอาสิ่งละ ๓  สลึงเฟื้อง  ผิวมะกรูด ๗  ผล  ดีเกลือ ๑  ตำลึง  สมอไทยที่กินผลลงนั้น  ๒  ตำลึง  ผลสลอดเม็ดแก่ ๓  เม็ด   บดด้วยน้ำส้ม  ๘  ประการ  หมักไว้สด ๆ  กินไปบรรจุลมร้ายทั้งปวง  และลมทั้งหลายดังกล่าวมานั้นแล

               - ยาเบณจขันธ์   ผายลมทั้งปวง   อันบังเกิดในเส้นเอ็น      เบญจมูลเหล็ก ๑  เบญจเทียน ๑  เบญจโกฐ ๑  เบญจสมอ ๑  เบญจเกลือ ๑  ยาทั้งนี้ต้ม ๓ เอา ๑  กินผายลมทั้งปวง   อันบังเกิดในเส้น  ในเอ็น  หายแล

               - ยาเขียวประทานพิษ      พริกไทย ๑  ใบสะค้าน ๑  ใบดีปลี ๑  ใบมะตูม ๑  ใบสมี ๑  ใบลำพัน ๑  ใบสหัศคุณ ๑  ใบกระวาน ๑  ใบผักเสี้ยนทั้ง ๒  ใบเถาวัลย์เปรียง ๑  ใบโหระพา ๑  ใบแมงลัก ๑  ใบกระเพรา ๑  ใบมะระ ๑  ใบผักกระโฉม ๑  ใบพรมมิ ๑  ใบผักกาด ๑  ใบมูลเหล็ก ๑  ใบคนทีสอ ๑  ใบ
ขมิ้นชัน-ขมิ้นอ้อย
มะกรูด ๑  ใบมะนาว ๑  ใบประคำไก่ ๑  ใบหมากผู้หมากเมีย ๑  ใบมะยม ๑  ใบมะเฟือง ๑  ใบสลอด ๑  ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ  ๒  สลึง  กะทือ ๑  ไพล ๑  พริก ๑  ขิง ๑  หอม๑  กระทียม ๑  ไคร้หอม ๑  เปลือกกุ่ม ๑  เปลือกมะรุม ๑  เปลือกทองหลาง ๑  เจตมูล ๑  ผักแพวแดง ๑  กระดอม ๑  หัวแห้วหมู ๑  ผลพิลังกาสา ๑  ผักชีล้อม ๑  ผักชีลา ๑  เทียนทั้ง ๕  มะแว้งทั้ง ๒  มะเขื่อขื่น ๑  สมุลแว้งทั้ง ๒  เอาสิ่งละ  ๗  สลึง  เปราะหอม ๕  สลึง  ใบสะเดากึ่งยา  ใบพิมเสนเท่ายา   เมื่อบดเอาแก่นสน ๑  กฤษณา ๑  แก่นปรู ๑  สักขี ๑  กระลำพัก ๑  ขอนดอก ๑  ชะลูด ๑  โกฐทั้ง ๕  เกสรบัวน้ำทั้ง ๕  เกสรดอกไม้สดทั้ง ๕  ดอก  มะลิสดเท่ายา   ต้ม  ๓  เอา  ๑   เอาน้ำบดยานั้นปั้นเท่าเม็ดพุทธรักษา  กิน  ๔  เม็ด  ๗  เม็ด  ถ้าลมกาฬสิงคลีละลายน้ำสุรา  ถ้าลมชิวหาสดมภ์  ลมมหาสดมภ์  ละลายน้ำมะกรูด  น้ำมะนาว  น้ำมะงั่ว  ถ้าลมทักขิณโรธละลายน้ำผึ้ง  น้ำข่า   ถ้าลมตติยาวิโรธละลายน้ำขิง น้ำผึ้ง  ถ้าลมอีงุ้มอีแอ่นละลายน้ำเกลือ  น้ำส้มสายชู  น้ำมะขามเปียก  ถ้าลมอินทรธนูละลายน้ำเบญจกูลต้ม  ถ้าลมกุมภัณยักษ์ละลายน้ำร้อน  น้ำหญ้าแห้วหมู  ถ้าลมพุทธยักษ์ละลายน้ำผึ้ง  น้ำขิง  น้ำไพล ลมนอกจากนี้ก็แก้ได้  ทั้งกินทั้งทา แก้สรรพลมทั้งหลาย  ลมกระสาย  ลมริดสีดวง  ลมกาฬวิงเวียน  ลมคลื่นเหียนและลมต่าง ๆ  น้ำกระสายยาต่าง ๆ  ตามแต่จะใช้

               - ยาเหลือง    แก้ลมพิษงูเห่า     ให้แก้แต่ต้นจนที่สุด     ตุ๊กต่ำ ๑  สุพรรณถันเหลือง ๑  สุพรรณถันแดง ๑  ชาดหรคุณ ๑  เมล็ดในมะนาว ๑  ข่า ๑  กะทือ ๑  พริก ๑  ขิง ๑  กระเทียม ๑  เปล้าน้อย ๑  พาดไฉน ๑  กระวาน ๑  กานพลู  เทียนทั้ง ๕  ผลผักชีทั้ง ๒  เสมอภาค  หัสคุณกึ่งยา  ไพลเท่ายา  ตำเป็นผงไว้แก้ลมทั้งหลายต่าง ๆ   แก้ลมพิษต่างๆ  แก้ทรางอันเกิดแต่ลมเสมหะ  แก้ลมริดสีดวง  แก้ลมเถา  ลมดาลก็ได้ น้ำกระสาย  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  น้ำสุรา  น้ำส้มก็ได้  ตามควรแก่โรคเถิด  แก้สรรพลมแล

               - ยาแก้ลมอันใดแน่นิ่งไป      ผักเสี้ยนทั้ง ๒  ใบละหุ่งแดง ๑  ใบลำโพง ๑   บดพอกแต่สะดือจนถึงหน้าอก  และพริกไทย ๑  ข่า ๑  พริกเทศเท่ายา  ตำพอกฝ่าเท้าทั้งสองแล้ว   เอาเหล็กนาบ  เอาหอม ๑  ไพล ๑  มะกรูด ๓  ผล  ตำพอกกระหม่อม  เผาเหล็กแดงอังเข้าให้ชิด  อย่าให้ถึงยา  แล้วเอาปากกัดที่หัวแม่เท้าให้หนักๆถ้าร้องโอยแล้วมิเป็นไร  หายแล
  
               - ยาแก้ลมมหาสดมภ์   ลมอัมพาตคู่กัน       เมื่อจับนั้นให้ลิ้นหดเข้า  เอาผักคราด ๑  แมงลัก ๑  ข่า ๑  สารส้ม ๑  เกลือสินเธาว์ ๑  พรมมิ ๑  บดปั้นแท่งไว้ทาลิ้นหด

               - ยาแก้ลมราทยักษ์   ลมปัตคาต  และลมพิษ      มหาหิงคุ์ ๑  ว่านน้ำ ๑  ผลช้าพลู ๑  ขิง ๑  ผักแพวแดง ๑  เทียนเยาวภาณี ๑  โกฐสอ ๑  บดละลายน้ำร้อน  แก้ลม  ๘  ประการ  แต่ต้นจนปัจฉิมที่สุด   แก้ลมพัดเสมหะในอกให้เป็นหืดไอ   ลมนั้นให้เย็นไปทั้งกายก็ดี  เอาน้ำขิงละลายกินหาย  ลมอติสารให้ปิดให้ลง  ละลายน้ำผึ้ง  ลมพัดให้แสบไส้เป็นก้อนในท้องและคอแห้ง  ละลายน้ำส้มซ่าแทรกเบญจกูลกินหายแล

               - ยาชุมนุมวาโย    แก้ลมในเส้นท้อง  ผิวหนัง  ในโลหิต  ในกระดูก  ในเนื้อ  และตามที่ต่างๆ    เอาผลช้าพลู ๑  สะค้าน ๑  ดีปลี ๑  มหาหิงคุ์ ๑  ยาดำ ๑  ตรีผลา ๑  ไพล ๑  ข่า ๑  กะทือ ๑  กระชาย ๑  คนทีสอทั้งใบทั้งผล  ข้าวค่า ๑  สมุลแว้ง ๑  ดองดึง ๑  ผิวมะกรูด ๑  มะนาว ๑  สหัสคุณทั้ง ๒  เปล้าทั้ง ๒  กระวาน ๑   กานพลู ๑  เทียนทั้ง ๕  โกฐสอ ๑  สารส้ม ๑  เกลือสินเธาว์ ๑  น้ำประสานทอง ๑  กรุงเขมา ๑ใบสะเดา ๑  ใบเปราะหอม ๑  เอาสิ่งละ  ๒  สลึง  พริกไทย ๔  บาท  กระเทียม ๔  บาท  ขิงสด  ๘  บาท  ผลสลอด  ๓  สลึง  เอาน้ำส้ม ๘  ประการ  เป็นกระสายยา  บดปั้นแท่งเท่าผลมะแว้ง  ละลายน้ำผึ้งรวง  พิมเสนรำหัด  กินบำบัดลม  ๑๐๐  จำพวก  ดังกล่าวมาแต่ต้นนั้นหายแล     

ลมพิเศษ

๑.  ลมปัถวีธาตุกำเริบ  ลมพัดอาโปธาตุเป็นฟอง  สำแดงโทษบวมทุกสถาน
              
ยารักษา
                    - ยาพระแสงจักร     สหัสคุณ  เปล้าน้อย  เบญจกูล  ขิง  เทียนทั้ง ๕  ตรีผล  ไพล  ดองดึง  สมุลแว้งเท่ายา เจตมูลกึ่งยา  สารส้มเท่ายา  บดพอกลมจับแต่แม่เท้าจนศีรษะ  แก้ลมกลิ้งในท้อง  ลมมือตายเท้าตาย  ลมจับเท้าเย็น   อันมีพิษในกายหาย

                    - ยาแก้ลมกล่อน     ผลผักคราด  ผลผักชีล้อม  เปล้าทั้ง ๒  จุกโรหินี  ผลมะตูมอ่อน  ผลแตงกวา  กุ่มน้ำ  บอระเพ็ด  ตองแตก  เอาเท่า ๆ กัน  ใบสลอดเท่ายา  ทำผงละลายน้ำร้อน  น้ำสุรา  กินแก้ลมทั้งหลาย  ลมขัดตะโพก  ลมพรรดึก  ลมปวดท้อง  ลมจุกอก  ลมขัดข้อ   ลมดังกล่าวมาแต่ต้นนั้นก็หาย

๒.   ลมพัดในลำไส้ ให้เป็นลูก  กลิ้งขึ้น กลิ้งลงอยู่ในท้อง  ให้จุกอก เสียดแทงตามชายโครงทั่วสรรพางค์กายและเสียดหัวใจ

 ยารักษา
                    - ยาแก้ลมพัดในลำไส้  เทียนดำ ๑  บาท  สารส้ม ๑  บาท  ขิง ๑  บาท  กระเทียม ๑  บาท  พริกล่อน ๑  บาท  ดองดึง ๑  บาท  กระลำพัก ๒  สลึง  ขอนดอก ๒  สลึง  ดีปลีเท่ายา  ตำผงละลายสุรากิน หายแล
                    - อีกขนานใช้คู่กัน พริกไทย ๒  สลึง  เกลือสินเธาว์ ๒ สลึง  ดีปลี ๒  สลึง  เบญจกูลสิ่งละ  ๒  สลึง  กระเทียมเท่ายา  ตำผงละลายน้ำร้อน  น้ำผึ้ง  แก้ลมกลิ้งขึ้นกลิ้งลงหายแล

๓.   ลมเข้าในไส้ใหญ่ไส้น้อย  ให้ชักมือ ชักเท้าแข็งงอ  จะเปิบข้าวก็มิได้  จะจับสิ่งอันใดก็มิได้  สมมุติเรียกว่า  ลมตะคริว 

ยารักษา
                    - ยาแก้ลมเข้าในไส้ใหญ่ไส้น้อย      เอาน้ำมันหมู ๑  บาท  หัวดองดึง ๑  บาท  พริกไทย ๒๐  บาท  ใส่หม้อฝังไว้ใต้ดิน ๓  วัน  แล้วเอาขึ้นหุงให้คงแต่น้ำมัน  จึงเอาการบูร  พิมเสน  กระวาน  กานพลู  น้ำมันงูเหลือม  ใส่ลงทาผึ้งแดดสำหรับรมเท้าตายหายแล 

                    - เอาเจตมูลทั้ง ๒  หัวกระดาดทั้ง ๒  หัวอุตพิต  หัวกลอย   พิลังกาสา   สหัสคุณ  ผักคราด  เปลือกโมกมัน ข้าวกับแก้  กระเทียม  ช้าพลู  ผลจันทน์  พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย  บอคุลการด้วยกัน  ละลายน้ำผึ้งกินเท่าผลพุทรา  แก้ลมสารพัดทุกลม  ทั้งริดสีดวงมองคร่อ หืด ไอ  หายแล

๔.   ลมบาทาทึก ให้สลบ  ทั้งลง  ทั้งอาเจียน  มิรู้ว่าสันนิบาตสองคลอง  ให้มือ / เท้าเขียว  ให้ชัก   มิรู้ว่าป่วง  ให้ลงกำหนด  ๓  วัน 

ยารักษา
                    - ยาประสรรณี       พิษนาศน์  ระย่อม  ไคร้เครือ  เนระพูสีทั้ง ๒  เบญจกานี  ว่านกลีบแรด  ว่านร่อนทอง ว่านนางคำ  กฤษณา  กระลำพัก  ชะลูด  ขอนดอก  ตุ๊กต่ำ  ดินถนำ  น้ำประสานทอง  ชาดจอแส  สุพรรณถันเหลือง  สุพรรณถันแดง  ชาดก้อน  ชาดหรคุณ  สน  กรักขี  มหาสดำ  เทพธาโร  จันทน์ทั้ง ๒  พริกหอม  พริกหาง  พริกล่อน  พิกุล  บุนนาค  สารภี  มะลิ  จำปา  สังกรณี  สรรพโกฐ  สรรพเทียน  หิงทอง  ยาดำ  เบญจกูล  ผลผักชีล้อม  ผักชีลา  โหระพา  กระเทียม  ดองดึง  เอาสิ่งละ ๑  เฟื้อง  ชะมด  พิมเสน  กระวาน  กานพลู  เอาสิ่งละ ๑  สลึง  เปล้าน้อย ๒  สลึง  ใบสลอด ๕  ตำลึง  สหัสคุณ ๒  ตำลึง  ใบมะตูมเท่ายา  บดปั้นเท่าผลมะแว้งละลายน้ำผึ้งแก้ลม อาการดังกล่าวมาก็หาย  และลมหทัยวาตก็หายสิ้นแล     
                    - ยาประสะการบูร       แก้สรรพลมใหญ่ทั้งหลายแลผายธาตุ     ผลจันทน์  มหาหิงคุ์  สะค้าน  เปราะหอม  เทียนขาว  เทียนเยาวภาณี  ตรีกฏุก  ตรีผลา  ไพล  ใบคนทีสอ  แห้วหมู  ผิวมะกรูด  สิ่งละเสมอภาค การบูรเท่ายา  ตำผงละลายน้ำร้อนกินเท่าผลพุทรา  แก้ลมใหญ่ลมน้อยทั้งปวงหายแล

๕.   ลมพานไส้  ให้อาเจียน  ให้จุกอก  ถ้าเป็นไปถึงกำหนด  ๗  เดือน  มักเป็นตัวเสียดอยู่ซี่โครงซ้าย  ให้ผอมเหลือง  พอใจอยากของสดของคาว  ครั้นถึง  ๓  ปี  จะตาย

ยารักษา
                    - ยาแก้ลมพานไส้  น้ำมะงั่ว  น้ำสุรา  น้ำมะนาว  น้ำข่า  น้ำเต้าขม  เอาสิ่งละจอก เคี่ยวให้เป็นยางมะตูมกินหาย 

                    - ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ลมอัมพาต  ให้มือให้เท้าตาย     เอาน้ำมะงั่ว  น้ำมะกรูด  เปลือกทองหลางใบมน  ไพล  ข่า  ขมิ้นอ้อย กุ่มทั้ง ๒  กระเทียม  รากเจตมูล พริกไทย  ผักเสี้ยนผี  เกลือ  การบูร ผลจันทน์  ดอกจันทน์ เอาเท่าๆกัน  ตำผงน้ำกระสายตามควร ๆ รับประทาน

                    - ยาแก้ลมออกตามหูตามตา      เอาทะลายหมากที่เป็นเขาควาย  ๒  สลึง  บอระเพ็ด ๒  สลึง  ผักแพวแดง๒  สลึง  ดีปลี ๒  สลึง  แห้วหมู  ๒  บาท  ใบสลอด ๒  บาท  ใบมะตูม  ๒  บาท  กรุงเขมา ๒  สลึง  ยาทั้งนี้ตำผงละลายน้ำผึ้งกิน  จำเพาะแก้ลมออกหูออกตาหายแล

 ๖.   ลมสูบพิษในลำไส้  ให้เวียนหัว  ให้อาเจียน  ให้จุกอก  ให้ปากหวานปากเปรี้ยว   ถ้าเป็นแก่บุคคลผู้ใด  ครั้นแก่เข้ากลายเป็นตัว  เข้าเสียดซี่โครงข้างซ้าย  ครั้นแก่หนักเข้าให้ผอมเหลือง   

ยารักษา
                    - ยาแก้ลมสูบพิษในลำไส้       หญ้าปากควายตำบิดน้ำจอก  น้ำบวบขมจอก  น้ำมะกรูดจอก  เคี่ยวให้เป็นยางมะตูม  เอาฝิ่น สลึง  มหาหิงคุ์ ๑  บาท  คุลีการ  (ผสมกัน)   ด้วยกันกินหายนักแล

๗.   ลมตุลาราก  เกิดแต่คอหอยให้เหม็นคาวคอ   เฝ้าถ่มแต่เขฬะบ่อย ๆ  จะหายใจก็ขัดอก  ถ้าเกิดแก่บุคคลผู้ใดได้  ๕  เดือน  เสียจักษุจึงหาย   

ยารักษา
                    - ยาแก้ลมตุลาราก       เอาหน่อไม้ตาตับเต่า   ฝ้ายแดง  กานพลู  ผลจันทน์  ดอกจันทน์  ดีปลี  ตำผงละลายน้ำผึ้งกินหายแล

๘.   ลมกระษัยจุกอก  แล้วมักกลายเป็นบิด  ให้เกิดโลหิตและเสมหะในลำไส้นั้นร้อนประดุจดังใจจะขาด   
ยารักษา

                    - ยาแก้ลมกระษัยจุกอกและเสียด       เอามะกรูด  มะนาว  ส้มป่อย  กำแพงทลาย  หญ้าเกล็ดหอย  ใบหนาด  ข่อยหยอง  ไคร้น้ำ  มูตรโค  ผลมะเกลือ  ขมิ้นอ้อย  หัวบุก  หัวกลอย  เสมอภาค  น้ำมันงา ๑ ทะนาน  ผลจันทน์  ดอกจันทน์  กระวาน  กานพลู  ดีปลี  เทียนดำ  เทียนขาว  ปรุงหุงให้คงแต่น้ำมัน  ทั้งกินทั้งทา

                    - ยาแก้สลบ แก้ชัก     เชือกเถามวกทั้ง ๒  รากฟักข้าว  รากครอบจักรวาล   จันทน์ทั้ง ๒  ผลจันทน์  ดอกจันทน์  กระลำพัก  ชะเอมเทศ  ชะลูด  ขอนดอก  กฤษณา  สรรพเกสร  สรรพโกฐ  สรรพเทียน   เปราะหอม  เสมอภาค  ใบกระวานเท่ายาทั้งหลาย  บดทำแท่งเท่าผลมะแว้ง  กินมื้อละ ๕  เม็ด  แก้ลมสันนิบาตและลมทั้งปวง

๙.   ลมกำเดา  ให้วิงเวียน   ให้จักษุลาย  จักษุมืด  จักษุฝ้าและขาว   ให้ศีรษะหนักซุนและเจ็บจักษุ   โทษลมระคนกำเดา

ยารักษา

                    - ยาแก้ลมกำเดา      มะกรูด  ๓  ผล  ไพล ๑  บาท  ต้มให้สุก  ดินประสิว ๑  บาท  หัวหอมโทน ๔  บาท ตำเคล้า   ส้มมะขามเปียกบดพอกหายอีกขนานหนึ่งคู่กัน      เอาใบละหุ่งแดง ๑  ใบลำโพงกาสลัก ๑  มะกรูด ๑  ผลดองดึง ๑  พริกไทย ๑  ขิงแห้ง ๑  เอาสิ่งละ ๑  บาท  ต้มด้วยน้ำส้มมะขามเปียก  แทรกดินประสิว  เคี่ยวให้งวด  เอาหัวหอมกึ่งยา  ไพลเท่ายาทั้งหลาย  บดสุม

๑๐.   ลมผูกธาตุให้เป็นพรรดึก  ครั้นนานไปกลายเป็นเสมหะกลัดเข้า  ให้ผอมแห้ง  กายเหลือง  ครั้นนานต่อไปอีกก็กลายเป็นหอบ เป็นไอ  กินข้าวกินนมมิได้  อาโปธาตุเป็นกำลัง  ให้บวม  แพทย์มิรู้  ว่าเป็นริดสีดวง

 ยารักษา
                    - ยาแก้ลมผูกธาตุให้เป็นพรรดึก      เอาน้ำบวบขม  น้ำมะขามเปียก  น้ำเถาวัลย์เปรียง  น้ำหญ้าไทร  เสมอภาค   กานพลู  มหาหิงคุ์  เทียนทั้ง ๕  หัสคุณ   รากส้มกุ้งทั้ง ๒   เบญจกูล  ฝักส้มป่อย  ตรีผลา  ตำลงใส่ในน้ำยากวนพอปั้นได้    รับประทานเท่าผลพุทรา
    
                    - เบญจกูล  เถาวัลย์เปรียง  ตรีผลา   กระเทียม  ใบมะกา  น้ำอ้อย  ๓  งบ  ข่า  ๗  ท่อน  ใบสลอดเท่ายา ต้มด้วยน้ำท่าครึ่งหนึ่ง  น้ำมะพร้าวนาฬิเกครึ่งหนึ่งรับประทาน


ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น