โดย ยส พฤกษเวช
คัมภีร์ปฐมจินดาตอนที่ 3 จะกล่าวถึง ผูก 2 และ ผูก 3
พระคัมภีร์ปฐมจินดาผูก 2 ปริเฉท 1 กล่าวถึงเรื่อง 9 ประการ ดังนี้
1. ลักษณะปักษี และปีศาจกระทำโทษแก่กุมาร
2. ลักษณะรูปสตรีและรูปกุมาร
3. ประเทศที่เกิดมี 4 ประเทศ
4. กล่าวด้วยยารักษาซางและเขม่า
5. กล่าวลักษณะรูปดวงซางต่าง ๆ
6. กำเนิดหละแห่งซางมี 9 ประการ
7. กล่าวกำเนิดซางทั้งปวง ซาง 7 วัน
8. กล่าวอาการไข้อันบังเกิดแก่กุมาร
9. กล่าวสรรพยาสำหรับโรคทั้งปวงแห่งกุมาร
1. ลักษณะปักษี ปีศาจกระทำโทษแก่กุมาร
1.1 ลักษณะปักษี 4 ประการ
1.1.1 นนทปักษี
ทำให้ท้องขึ้น ท้อง/หลังร้อน เมื่ออยู่เรือนไฟเข้าไส้เป็นเสมหะ ให้เจ็บทั้งตัว ราก/ สำรอกทางจมูก นนทปักษีเข้าไส้ออกทางทวารหนัก เข้าตอนเช้าออกสิ้นแสงตะวัน กุมารตกใจจึงเข้าเมื่อสัตว์กัดกันจึงออก (แก้ให้เอาใบหนาด+มหาหิงคุ์ บดทาตัว)
1.1.2. กาลปักษี
ทำให้รากทางปากและจมูก เมื่อแม่ออกไฟได้ 5 เดือน ปิศาจออกนอกไส้เป็นขด สั่นดังอยู่จ้อๆ ร้องไห้เป็นครู่ ถอนใจใหญ่ ร้องไห้เมื่อหลับ กาลปักษีกระทำโทษ ออกทางปัสสาวะ เข้าเมื่อนอนออก เมื่อตะวันขึ้น (แก้ให้เอาสาบแร้ง สาบกา เขาควายผสมกันเผารม)
1.1.3. อสุนนทปักษี
ให้สะดุ้ง ร้องไห้ หลับผวา ร้องตกใจ อยากน้ำ ตัวร้อน นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ได้ อยู่ในตับ เข้าทางจมูกออกทางจักษุเข้าเที่ยงวันออกเที่ยงคืน(แก้ให้เอาขนนก ขนกา ผสมกันเผารม)
1.1.4. เทพปักษี
ท้องขึ้น มือเท้าเย็น เป็นเหน็บ ให้ตัวร้อน ให้ง่ามือ/เท้าเมื่อออกเรือนไฟแล้วได้ 3-4 เดือน ให้เหลือกตาซ้ายขวาช้อน ให้ร้อนตา กระหม่อมพร่อง เทพปักษีเข้าทางนมออกทางเท้า เข้าเย็นออกเช้าก่อนสาย (แก้ให้เอาพลับพลึง สุพรรณถัน ผสมกันเข้าเผารม)
1.2. ลักษณะกุมาร 4 ประการ
1.2.1. มหัศรูป กระหม่อมห่าง ไส้พอง อัณฑะยาน เป็นเขม่าซาง ร้องไห้แหบดังเสียงแมวท้องขึ้น รากออกทางจมูก
1.2.2. อทิศรูป กระหม่อมลึก อยู่ในเรือนไฟ เขม่าขึ้นพอประมาณ ซางขึ้นในลิ้นจนถึงปลายลิ้น ซางลงท้อง ให้ลงและอาเจียน
1.2.3. หริตรูป กระหม่อมเป็นร่อง เมื่ออยู่ในเรือนไฟ เขม่าขึ้นในทรวงอกถึงปลายลิ้น 5 วัน ลงท้อง รากและไอ
1.2.4. มนุษย์รูป กระหม่อมเต็ม อยู่ในเรือนไฟไม่มีเขม่าและซาง ออกแล้วบังเกิดซางตั้งแต่นาภี อก คอ เพดาน กระหม่อม สันหลัง อยู่ในท้องแม่อยากของคาว อายุ 3-6 เดือน ผอมแห้งรักษายาก
1.3. ประเทศที่เกิดมี 4 ประเทศ
1.3.1. เกิดในประเทศที่น้ำตมและน้ำเค็ม หนาว บังเกิดโรค มีเสมหะเป็นต้นเหตุ
1.3.2. เกิดในประเทศที่สูง บังเกิดโรค มีกำเดาเป็นต้นเหตุ
1.3.3. เกิดในประเทศน้ำตมและน้ำฝนต่อกัน บังเกิดโรค มีลมเป็นต้นเหตุ
1.3.4. เกิดในประเทศป่าดงและที่มีกรวดทราย บังเกิดโรค มีโรคเรื้อนเป็นต้นเหตุ
ยังไม่ขอกล่าว
1.4. กล่าวด้วยยารักษาซาง หละและเขม่า
1.5. กล่าวลักษณะรูปดวงซางต่าง ๆ
1.6. กำเนิดหละแห่งซาง
1.7. กำเนิดซางทั้งปวง ซาง 7 วัน
1.8. กล่าวกำเนิดอาการไข้แก่กุมารกุมารี
1. ไข้เพื่อซางแดงและไฟธาตุกำเริบ เอ็นนิ้วชี้แห่งกุมารนั้นแดงขึ้นมาดุจน้ำชาดก็ดี ดุจดังแสงเพลิงก็ดี ลักษณะดังนี้เป็นไข้ เพื่อซางแดงจึงจะชอบโรคชอบไฟธาตุ
2. ไข้เพื่อเสมหะ กินข้าว กินนม ย่อมให้ราก
3. ไข้เพื่อลม นอนพักเงียบอยู่ตาแข็ง คางแข็ง ตามัวลงให้ พิจารณาตานั้นเถิด
4. ถ้าเป็นเพื่อไฟธาตุและเสมหะระคนกัน ให้ตาใสมิได้มัว
5. กุมารไข้ในเดือน 1 เดือน 2 เดือน 3 ห้ามมิให้มารดากินฟักเขียว
6. กุมารไข้ในเดือน 4 เดือน 5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 ห้ามมารดากินน้ำอ้อย น้ำตาล ผลไม้หวาน และอาบน้ำฝน
7. กุมารไข้ในเดือน 9 เดือน 10 เดือน 11 เดือน 12 ห้ามมารดากินเนื้อดิบและ ปลาดิบ ผักพล่าปลายำทั้งปวง
1.9. กล่าวสรรพยาสำหรับโรคทั้งปวงแห่งกุมาร (ไม่ขอกล่าว)
ซาง คือ โรคของเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ ไม่กินนม ข้าว อาเจียน ซึม มีเม็ดขึ้นในปากคอ ลิ้นเป็นฝ้า
ดวงซาง 9 จำพวก เกิดจรกินไส้พุง ตับ ปอด หัวใจ
พระคัมภีร์ปฐมจินดา ผูก 3 ปริเฉทที่ 1 (อาทิตย์)
ซางเพลิง (เจ้าเรือน)
มีแม่ 4 ยอด บริวาร 40 ยอด เขม่าขึ้นแต่อยู่ในเรือนไฟ ยอดแดงดัง ผลมะไฟ แล้วดำด้านลง ขอบดวงแดงดุจเพลิงไหม้ หนังพองเลื่อนเข้าหากัน ปวดหลังเท้าถึงลำแข้ง ขา ตะโพก บั้นเอว เมื่อครรภ์ มารดาได้ 3 เดือน มารดามักเป็นพรรดึก ขัดเบา ปัสสาวะเป็นโลหิต มักจุกเสียด เอ็นย่อมชักให้มือสั่น ให้ครั่นเนื้อตัว ให้ผอมเหลือง ให้เดิน ไกลมิได้ ให้ขัดหัวเหน่าและท้องน้อย ให้สลักตะคากเจ็บตะโพก อยากของหวาน
ซางกราย (จร)
มีแม่ 4 ยอด บริวาร 40 ยอด กระจายดุจดังยอดผด นอนบิดตัวสดุ้ง ทำให้ตัวร้อน ให้ลงและราก กระหายน้ำ กินข้าว ดื่มนมมิได้
หละอุไทยกาล (ซางไฟ, ซางแดง) อาทิตย์, อังคาร
ชักเท้า/มือกำ กระทืบเท้า ร้องไห้ อุจจาระ/ปัสสาวะมิออก
ละอองเปลวไฟฟ้า
เม็ดยอดแดง ดังน้ำชาดหรือดังยอดทับทิม แรกขึ้นทำพิษให้ตา เหลือง ลิ้นกระด้างคางแข็ง ตาแข็ง ชักเท้า/มือกำ กระทืบเท้า ตัวร้อนเป็นกำลัง แก้ไม่ทันกำหนดเช้าจนเที่ยงตาย
ห้าม วางยา เผ็ดร้อน เข้าเหล้า น้ำมัน น้ำส้ม แก้ด้วยยาเย็นหอม ฝาดขม จึงรอดชีวิต
ลมประวาตะคุณ หรือลมประวาติคุละมะ
คือ ลมก้อนดานที่ตั้งแอบ ก้อนบมทักษิณะคุละมะอยู่ทำให้่เป็นก้อนดานเถา อยู่ในอก และตั้งอยู่บนยอดไส้เกี่ยวผ่านลมในนาภี
พระคัมภีร์ปฐมจินดา ผูก 3 ปริเฉทที่ 2 (จันทร์)
เมื่อครรภ์มารดาได้ 3 เดือน มารดามักให้ปวดศีรษะแลเจ็บนม อยากของหวาน เมื่อยแขน ให้หูหนัก ตาฟาง มักเป็นลม ให้มึน ให้ตึง ให้ราก ให้กระหายน้ำเป็นกำลัง ไปจนกำหนดคลอด
ซางน้ำ (เจ้าเรือน)
มีแม่ 19 ยอด ยอดโตเท่าใบพุทรา สีแดงดังผลปรังห่าม ขึ้นที่ ต้นแข้งขา กลางหลัง หน้าแข้ง 2 ข้าง แลแก้มทั้ง 2 ข้าง จนอายุ 2 ขวบ 6 เดือน
ซางฝ้าย (จร)
เกิดขึ้นในลิ้น ในปาก ไม่มียอดขึ้นที่เพดาน กระพุ้งแก้ม ไรฟัน ลิ้นขาวดังยวงฝ้าย มีใยดุจสำลีดีดแล้ว ทำพิษร้อนทั่วตัว ปากร้อน แห้ง ไม่มีน้ำลาย หุบปากมิลง กินข้าว/นมไม่ได้ อาเจียน ลงท้องเหม็น ดังไข่เน่า
หละแสงพระจันทร์ (ซางน้ำและซางช้าง) จ. , ศ.
ยอดเหลืองดังเม็ดข้าวโพด ขึ้นแต่ต้นขากรรไกรซ้าย /ขวา แล้วลงท้อง ตาแข็ง ลิ้นกระด้างคางแข็ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา หน้าผากตึง แล้วให้ตัวเย็น
ละอองแก้ววิเชียร หรือละอองพระบาท
ขาวเป็นมันดุจมะพร้าวกะทิทั้งปาก ที่เพดาน ลิ้นกระพุ้งปาก กินข้าว/นมมิได้ ทำพิษให้ร้อน นอนไม่หลับ สะดุ้ง บางทีลงท้อง บางทีท้องผูกแล้วท้องขึ้น ตาเหลือกตาช้อน ไอมาก ถ้าเห็นเพดานลิ้น กระพุ้งปากขาวดังกล้ามมะพร้าวยังไม่ได้ขูดนั้น เรียกว่า ละอองพระบาท
ลมโกฐฐาสยาวาตา ลมพัดอยู่ในลำไส้ ถ้าออกจากตัวกระทำให้เป็นไปต่าง ๆ ลมธาตุนี้จะลงนับเวลามิได้ ครั้นจะให้ลงไปมากก็มิได้ ถ้าลงไปนักก็จะทำให้จุกแน่นอยู่ใน ลำคอ กินข้าว นม ยา มิได้ เพราะรากอยู่รุนแรง และน้ำลายเหนียว ถ้าน้ำลายเหนียวเข้าเมื่อใดตาย
พระคัมภีร์ปฐมจินดา ผูก 3 ปริเฉทที่ 3 (อังคาร)
เมื่อครรภ์มารดาได้ 3 เดือน มักเป็นลมจุกเสียด ให้วิงเวียน ให้หอบพัก แลราก ให้เมื่อยมึน มือเท้าบวม นอนไม่หลับ
ซางแดง (เจ้าเรือน)
มีแม่ 6 ยอด บริวาร 72 ยอด สำแดงที่คอ คาง ขาหนีบ รักแร้ข้างนอก ทวารหนัก ทำให้ ตกมูกเลือด ตกหนอง ม้ามย้อย ตัวร้อน ผอมเหลือง อุจจาระ/ปัสสาวะเหลือง จุกเสียด เสมหะฟูม มือกำ เท้ากำ อายุ 3 เดือน ไปจน 1 ขวบ 9 เดือน
ซางแดงตัวผู้ ขึ้นอก
ทำให้หอบขึ้นไหล่ เจ็บหลัง ถ้าขึ้นคอกินข้าว/นม ไม่ได้ เมื่อจะแสดงอาการตายนั้น ผุดขึ้นรักแร้ข้างละยอดเท่าผลบัว จมอยู่ในเนื้อ ผุดออกมาดังสีควันเทียนลามมาหน้าผากดุจกลีบจำปา เมื่อตายผุดออกทั่วตัวเป็นแว่นเป็นวง มีสีเหลือง แดง ขาว ดุจดังประทับตราลงไว้ (ซางแดงมีโทษมาก ร้ายแรงกว่าซางทั้งปวง)
ซางกระแหนะ (จร)
มีแม่ 3 ยอด บริวาร 30 ยอดซางเหลืองขึ้นปลายลิ้น บริวารล้อมแม่ซางแล้วตั้งเปลวออกไปดังอุณาโลม ทำพิษให้ดูดนมมิได้ ลิ้นกระด้างคางแข็ง มือกำเท้ากำ 5 เดือน ลงมูก ถ่ายเป็นน้ำล้างเนื้อ น้ำชานหมาก เสมหะโลหิตเน่า ซูบผอม กินอาหารไม่ได้
หละอุไทยกาล (ซางแดง , ซางไฟ) อังคาร,อาทิตย์ ชักเท้า/มือกำ กระทืบเท้า ร้องไห้ อุจจาระ/ปัสสาวะมิออก
ละอองแก้วมรกฏ เมื่อเกิดหน้าเขียว หน้าดำ ชักเท้ากำมือกำ อ้าปากมิออก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง แก้ไม่ได้ ตาย
ลมอุทรวาต
ลมกำเหนิดตั้งแต่กุมารอยู่ในครรภ์ ทำให้ร้องไห้ตั้งแต่ในเรือนเพลิง จนถึง 3 เดือน จึงจะหายไปเอง แก้ด้วยยามิหาย ลมเมื่อถอยลงมาจากศีรษะแลลงทรวงอกนั้นแล้ว ลงมาตั้งอยู่ในนาภีจึงเรียกว่า ลมกองใหญ่พัดขึ้นมาตามนาภี ตามเส้นชิดกระดูกสันหลังขึ้นมาในอกและลำคอแล้วส่านออกช่องหู จมูกแลกระหม่อม ถ้าข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย แลประเภทดังนี้คือ ต้องระบองราหูก็ว่ากุมาทสังก็ว่า อักขมูขีก็ว่า แลสะพั้น ๗ จำพวก หญิงชายก็เป็นดุจเดียวกัน
พระคัมภีร์ปฐมจินดา ผูก 3 ปริเฉทที่ 4 (พุธ)
เมื่อครรภ์มารดาได้ 3 เดือน มารดามักให้จุกเสียด ครั้นได้ 5 เดือน มักให้ราก ครั้นได้ 7 เดือน มักให้บวมเท้าถึงต้นขา ให้ขัดตะโพก กินอาหารมักให้ขม ให้พรึงเป็นเม็ดยอดขึ้นทวารหนักทวารเบา ให้เมื่อยไปทั้งตัวจนกำหนดคลอด
ซางสะกอ (เจ้าเรือน)
มีแม่ 4 ยอด บริวาร 42 ยอด เกิดที่คอและลิ้นเหงือกข้างบน/ ล่าง ทำให้ลง ราก กระหายน้ำ ตัวร้อนเชื่อมมึน กระสับกระส่ายทั้งตัว ลงท้องตกมูก เลือดหนอง ตกมูตรเหลือง ท้องโตจุกเสียด ผอมเหลือง เจ็บท้อง กินข้าว/นม ไม่ได้
ซางกระตัง (จร)
มีแม่ 3 ยอด บริวาร 30 สู้ยา กวาดเช้าค่ำก็ขึ้นอีก กวาดค่ำเช้าขึ้น ทำให้ท้องขึ้นตัวร้อน แสยงขน ร้องไห้บิดตัว ลงท้อง กระหายน้ำ เป็นวิปริตต่าง ๆ เมื่อรู้ย่างรุ้เดินไส้พุงกระฉ่อนทำให้ตกมูก ตกเลือด
หละเนียรกันถี (นิลเพลิง)
เมื่อตั้งขึ้นเห็นเขียวดังใบไม้สด แล้วเป็นสายโลหิต ผ่านไป 5 วันจะให้ลงท้อง ท้องขึ้น ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง ละอองแสงเพลิง แรกเกิดกระขาวข้างกระพุ้งแก้ม อยู่วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ให้คล้ำเขียวดังใบไม้ ทำพิษเชื่อมมึนลงท้อง อุจจาระเขียวดังใบไม้ เหตุ ละอองลงไปจับไส้อ่อนและขั้วดี
ลมสุนทรวาต
ตั้งขึ้นมาแต่สะดือ และท้องน้อย ทำให้เจ็บท้อง/ท้องขึ้น ลงท้อง มักให้นอนหลับไป ท้องขึ้นหน้าเขียว ชักมือกำเท้ากำ
พระคัมภีร์ปฐมจินดา ผูก 3 ปริเฉทที่ 5 (พฤหัสบดี)
เมื่อครรภ์มารดาได้ 3 เดือน มักให้มารดาปากเปื่อยแลให้ลิ้นเป็นยอดขึ้นมาข้างริมลิ้น ข้างละ 5 ข้างละ 6 ยอด แลให้กินเผ็ดกินร้อนมิได้ ครั้นได้ 6 เดือน ก็ลามออกมากลางลิ้น จึงแตกระแหง แล้วให้ปวดแสบเป็นกำลัง แล้วให้เป็นบิด ตกมูกเลือด ต่อคลอดแล้วจึงหาย
ซางโค (เจ้าเรือน)
มีแม่ 4 ยอด บริวาร 40 ยอด เมื่ออยู่ในเรือนไฟ เขม่าตานซางขึ้นเต็มปากและหายไป จึงทำให้เพิ่งขึ้นทั้งตัว ดังยอดผด ทำให้ ตัวร้อน บิดตัวจนลงไปทำท้อง อายุ 1 ขวบ 6 เดือน ทำให้ตกมูก ตกโลหิต เป็นไปต่าง ๆ
ซางข้าวเปลือก (จร)
มีแม่ 5 ยอด บริวาร 50 ยอด เกิดเพื่อกำเดา แรกบังเกิดให้ปากร้อน ลงท้อง มือเท้าเย็น แล้วขึ้นผื่นทั้งตัว ดังคายข้าวเปลือกให้คันเล็กน้อย ไม่รู้ก็ว่าหัด บางทีผุดดังปานดำปานแดง บางทีผุดดังถูกตีด้วยนิ้วมือดำ แดง เขียว ให้ราก ลงท้อง ท้องขึ้น ชักเท้ากำมือกำ ลิ้นกระด้างคางแข็ง ดูดนมมิได้ ให้เป็นไป 3 วันถึง 7 วันทีหนึ่ง พ้นกว่านั้น อาการตัด
หละนิลกาฬ
ยอดดำดังสีนิล เมื่อบังเกิดขึ้นให้ตายไปครึ่งตัว ร้องไห้มิออก ขึ้น 1 วัน 2 วัน กลายเป็นมหานิลกาฬให้เขียวไปทั้งตัว
ละอองมหาเมฆ
บังเกิดขึ้นดังดอกตะแบกช้ำ จับให้หน้าเขียว ชักเท้ากำมือกำ ตาช้อนดูสูง อุจจาระ/ปัสสาวะมิออก
ลมหัศคินี
ลมนี้เกิดเมื่อตั้งมูลปฏิสนธิได้ 3 เดือน ชักเท้ากำมือกำ หลังแข็ง เหงื่อตก ท้องขึ้น เป็นเช้าเที่ยงตาย เป็นเที่ยงค่ำไม่ตาย ห้ามอาบน้ำเช้า/เย็น ห้ามกินยาเข้าสุรา ลมนี้ชอบยาเย็นเป็นยาสุขุม
พระคัมภีร์ปฐมจินดา ผูก 3 ปริเฉทที่ 6 (ศุกร์)
เมื่อครรภ์มารดาได้ 3 เดือน ให้ทวารเบานั้นพรึงขึ้นดังยอดผด แล้วให้คัน ครั้นเมื่อแตกออกก็เปื่อยลามเป็นน้ำเหลืองรอบทวาร แลให้ปวดหัวเหน่าเป็นกำลัง ให้เจ็บสองตะคาก แลให้ขัดเบา ครั้นได้ 4 - 7 เดือน ให้จุกเสียด ครั้นได้ 8 - 9 เดือน ให้บวมเท้าไปจนกำหนดคลอด
ซางช้าง (เจ้าเรือน)
มีแม่5 ยอด บริวาร 80 ยอด กระทำให้ไอ คอแห้ง เจ็บคอ อาเจียนลมเปล่า ให้พุพองรอบคอเปื่อยเน่ากันไปทั้งตัว ลงท้องทำให้อาเจียน กินข้าว/น้ำมิได้ ขึ้นในกระเพาะทำให้เบื่ออาหาร ขึ้นลำไส้เป็นพรรดึก ขึ้นหัวเหน่าขัดปัสสาวะ นั่ง เดินทำให้ตกมูก ตกเลือดด้วย ตับ ปอด ไส้ พุง พองขึ้น เมื่อกินอาหารมันคาว จึงแปรธาตุทั้ง 4 พิการ ถ้าไม่รักษาไม่รอด เมื่อตายนั้นให้ดูที่ ท้อง คอ อก ลายดุจนกกรอดรอบนาภี ที่ยอดอกเขียวไข่กา ที่คอแดงดุจสายเลือด บวม
ซางกระดูก (จร)
ตั้งยอดได้ 2 วัน หลบหายเข้าไปในท้อง ทำให้ลงท้อง เท้า-มือเย็น แม่ซางนั้นจึงกลับมาขึ้นต้นลิ้นยอดหนึ่ง แข็งดังตาปลา ถ้าแก้ให้แกะ ให้แทงยอดก่อน แล้วเอายาป้าย
หละแสงพระจันทร์ ยอดเหลืองดังเม็ดข้าวโพด ขึ้นตั้งแต่ต้นขากรรไกรซ้าย /ขวา ลงท้อง ตาแข็ง ลิ้นกระด้างคางแข็ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา หน้าผากตึง แล้วให้ตัวเย็น
ลมอริต บังเกิดคอเขียว ชักเท้ากำมือกำ ร้องไห้ไม่ออก ลิ้นกระด้างคางชักแข็ง น้ำลายฟูมปาก ลูกตากลับกลอกไปมา ยักคิ้วหลิ่วตา เสมหะปะทะคอดังกรอกๆ เมื่อตายตัวเหลืองดังรดด้วยน้ำขมิ้นสด
พระคัมภีร์ปฐมจินดา ผูก 3 ปริเฉทที่ 7 (เสาร์)
เมื่อครรภ์มารดาได้ 3 เดือน ให้มารดาอยากของอันคาว แลไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่เต่า แลของอันเผ็ดร้อน และเปรี้ยวหวาน ผักพล่าปลายำทั้งปวง แลให้สวิงสวาย มักให้เจ็บนม แลปากมารดานั้นพรึงขึ้น แล้วลำลาบเปื่อยออกไป ให้ตกมูกเลือด ให้เจ็บคอ เจ็บเอว จนถึงกำหนดคลอด
ซางโจร (เจ้าเรือน) ซางขโมย
มีแม่ 9 ยอด บริวาร 58 ยอด แม่ซางแสดงออกมาที่ปาก ขึ้นเหงือกข้างบนและล่าง ยอดเหลืองขึ้นข้างบนหรือข้างสะดือ ยอดดังเมล็ดข้าวสารหัก ตรงกลางดำเป็นขอบ ถัดขอบมาเหลืองขอบตีนแดง ให้ตัวลายดังปลากระทิง มีแม่ดังตัวไร เจ็บทั้งตัว ต่อมาเปื่อยเป็นขุมออกทั่วตัว ลงท้องมิหยุด กุมารอายุ 1 ขวบ 6 เดือน ลงและอาเจียน ลงเป็นส่าเหล้า น้ำคาวปลา น้ำล้างเนื้อ ตกมูกเลือด ตกหนอง ซางนี้กำหนด 4-5-6 วันแก้มิทัน ถ้าสุกเหลืองดังขมิ้น แล้วรายลงต้นลิ้น เมื่องดอาหารหนัก ซางโจรมิได้เป็นแต่กุมารเกิดวันเสาร์เท่านั้น ย่อมเข้า แทรกทุก ๆ ซางไป เมื่อปลายมือซางนางริ้นดุจกัน
ซางนางริ้น (จร)
มีแม่ 4 ยอด บริวาร 56 ยอด ยอดขึ้นแทรกซางเจ้าเรือน หรือขึ้นเมื่อหมดซางเจ้าเรือนแล้ว ขึ้นที่ต่าง ๆ กระทำให้คอแห้ง ลิ้นขาวดูดนมมิได้ ทำให้ไอ กระหายน้ำ คอแห้งเชื่อมมึนหลับตา ตกมูก ตกโลหิตสดๆ บางทีเป็นโลหิตเสมหะเน่าออกมาบ้าง ตับหย่อนย้อยลงมาชายโครง จับเป็นเวลา ตาแดงเป็นสายโลหิต ปัสสาวะดังน้ำข้าวน้ำดินสอพอง/น้ำหนองเจ็บปวดดิ้นมา บางทีฟกขึ้นที่หัวเหน่า ที่องคชาตเป็นหนอง กลายเป็นปรวดเข้า คือ ลูกนิ่ว
หละมหานิลกาฬ
ยอดดำดังสีนิล ขึ้น 1 วัน แปรเป็นแสงเพลิง ขึ้น 2 วันแปรไปเป็นสลักเพชรทั้ง 2 ข้าง เมื่อบังเกิดขึ้นให้ตายไปครึ่งตัว ร้องไห้มิออกกลายเป็นมหานิลกาฬให้เขียวไปทั้งตัว
ละอองเปลวไฟฟ้า
เม็ดยอดแดง ดังน้ำชาดหรือดังยอดทับทิม ลิ้นกระด้างคางแข็ง ตาแข็ง
ละอองทับทิม
ชักเท้า/มือกำ ตัวร้อนเป็นกำลัง แก้ไม่ทันกำหนดเช้าจนเที่ยงตาย
ห้าม วางยาเผ็ดร้อน เข้าเหล้า น้ำมัน น้ำส้ม แก้ด้วยยาเย็นหอม ฝาดขม จึงรอดชีวิต
ลมกุมภัณฑ์ยักษ์ และ ลมบาดทะยัก ลมจำปราบ
เมื่อจับให้ช้อนตาดูสูง หน้าเขียว ชักเท้ากำมือกำ หลังแอ่น กัดฟันลมนี้บังเกิดเมื่อกุมารจับเป็นเพื่อพิษต่าง ๆ หรือบังเกิดเพราะเสี้ยนบาดหนาม เป็นบาดแผลเข้าที่ใดย่อมเป็นไข้พิฆาต จึงกำเนิดลมทั้ง 2 นี้ และลมจำปราบก็พลอยด้วย
ลมจำปราบ
ทำให้ตัวนั้นคล้ำดำเข้าอาการทำพิษดุจงูเห่า เมื่อจับให้ดิ้นเสือกไปก่อนแล้วจึง ให้ชักหลังแอ่นไปถึงตะโพก ตัวเย็น ขนกลับขึ้นเบื้องบน ไม่รู้แก้ ตาย เวลาตายโลหิตแตกทุกเส้นขน ลมนี้ห้ามผายยาเข้าสลอด จะตายเสีย ให้ผายด้วยยา “ เบญจอำมฤทธิ์ ” หรือ มหาอำมฤทธิ์คู่กันก็ได้
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ทราง หละ ละออง ลม มันเป็นอาการเจ็บป่วยในเด็ก ที่เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไรครับ หรือ แล้วแต่ความหนักเบา
ตอบลบ